โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมกับแบคทีเรียเพื่อผลิตหนังเทียมที่ไม่ได้มาจากสัตว์และพลาสติก หนังเทียมที่ยั่งยืนนี้ยังมีคุณสมบัติการย้อมสีในตัวอีกด้วย
เซลลูโลสจากแบคทีเรีย (Bacterial cellulose – BC) เป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่นำมาในทดแทนหนังสัตว์ เนื่องจากมีความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพ มีคุณสมบัติที่ใช้เป็นวัสดุ และมีความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่ำ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การใช้ BC มีความยั่งยืน ผู้ผลิตยังจำเป็นต้องหาวิธีอื่นที่ปลอดภัยกว่าในการย้อมสิ่งทอ
เพื่อช่วยแก้ไขปัญหานี้ นักวิจัยจาก Imperial College London ใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรม เพื่อผลิตสายพันธุ์แบคทีเรีย Komagataeibacter rhaeticus ที่จะผลิตเซลลูโลสที่มีการสร้างเม็ดสีในตัวเอง หนังเทียมชนิดใหม่นี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างต้นแบบรองเท้าและกระเป๋าสตางค์ได้สำเร็จ การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างพันธุวิศวกรรมและเทคนิคของการผลิตสิ่งทอทางชีวภาพอาจทำให้เกิดสิ่งทอประเภทใหม่ได้
ครับ ในอนาคตอาจได้ใช้หนังเทียมประเภทนี้อย่างยั่งยืน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41587-024-02194-3