โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Biocatalysis and Agricultural Biotechnology แสดงให้เห็นว่าการยับยั้งยีน solanidine galactosyltransferase (sgt1) ในมันฝรั่ง ส่งผลให้ระดับโซลานีน ( α-solanine) อยู่ในระดับต่ำ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับ α-chaconine
มันฝรั่งโดยธรรมชาติจะผลิต steroidal glycoalkaloids หลัก ๆ 2 ชนิดที่เรียกว่า α-solanine และ α-chaconine ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเป็นพิษในมนุษย์เมื่อบริโภคในปริมาณมาก สภาวะเครียดบางอย่าง เช่น การสัมผัสกับแสง ความเสียหายทางกายภาพ หรือการเก็บรักษาที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม อาจทำให้การผลิต glycoalkaloids ในมันฝรั่งเพิ่มขึ้น
ดังนั้น นักวิจัยจากอินเดียจึงใช้ CRISPRi/dCas9-KRAB เพื่อยับยั้ง sgt1 เพื่อลดระดับ α- solanine ในมันฝรั่ง การวิเคราะห์ทางโภชนาการในมันฝรั่งที่แก้ไขยีนเหล่านี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับมันฝรั่งพันธุ์ป่า (wild-type potato) ข้อค้นพบของการศึกษานี้ช่วยเร่งการวิจัยในปัจจุบัน เกี่ยวกับการพัฒนามันฝรั่งที่ผ่านการแก้ไขยีนเพื่อให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น
ครับ เทคนิคการแก้ไขยีนช่วยให้พืชมีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1878818124001166