CRISPR-COPIES เร่ง-เพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขจีโนม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจากศูนย์นวัตกรรมพลังงานชีวภาพและผลิตภัณฑ์ชีวภาพขั้นสูง (Center for Advanced Bioenergy and Bioproducts Innovation – CABBI) กำลังพัฒนาความสามารถและความสะดวกในการใช้งานของ CRISPR ด้วยเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นใหม่ที่เรียกว่า CRISPR-COPIES หรือ Computational Pipeline (ชุดของข้อมูลเพื่อการประมวลผลที่เชื่อมต่อกันเป็นอนุกรม)

เพื่อการระบุตำแหน่งแบบบูรณาการ (integration sites) ที่อำนวยความสะดวกด้วย CRISPR-Cas โดย CRISPR-COPIES สามารถระบุตำแหน่งแบบบูรณาการได้ทั่วทั้งจีโนมของแบคทีเรียและเชื้อราเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำได้ภายใน 2 – 3 นาที

ในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nucleic Acids Research นักวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงความคล่องตัวและความสามารถในการเพิ่มการระบุตำแหน่งของ CRISPR-COPIES โดยการระบุตำแหน่งแบบบูรณาการในสิ่งมีชีวิต 3 ชนิด ได้แก่ Cupriavidus necator (แบคทีเรีย) Saccharomyces cerevisiae (ยีสต์) และเซลล์ HEK 293T (เป็นเซลล์ตัวอ่อนจากไตของมนุษย์และเป็นหนึ่งในกลุ่มเซลล์ที่ใช้กันมากที่สุดในการวิจัย)

นักวิจัยได้ใช้การระบุตำแหน่งแบบบูรณาการโดย CRISPR-COPIES เพื่อดัดแปลงเซลล์ให้ผลิตกรด 5-aminolevulinic ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นชีวเคมีอันทรงคุณค่าที่มีการนำไปใช้ในการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนี้นักวิจัยยังสร้างเว็บที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้สำหรับ CRISPR-COPIES ซึ่งนักวิจัยสามารถเข้าถึงได้

สำหรับการดัดแปลงพันธุกรรมพืช CRISPR-COPIES สามารถใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตชีวมวล ต้านทานศัตรูพืช และ/หรือความยืดหยุ่นต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับการแปลงชีวมวลให้เป็นสารเคมีอันทรงคุณค่า ตัวอย่างเช่น การใช้ยีสต์ S. cerevisiae CRISPR-COPIES สามารถใช้ในการดัดแปลงเซลล์ที่ให้ผลผลิตมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ครับ อีกไม่นานก็จะมีเครื่องมือเพื่อสร้างการกลายพันธุ์ในหลายตำแหน่ง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://cabbi.bio/crispr-copies-new-tool-accelerates-and-optimizes-genome-editing/