โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
สถาบันวิจัยพืชนานาชาติสำหรับเขตร้อนกึ่งแห้งแล้ง (International Crops Research Institute for the Semi-Arid Tropics – ICRISAT) หรือที่เรียกย่อว่า ICRISAT (อยู่อินเดีย) ได้บุกเบิกแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งความเร็วในการปรับปรุงพันธุ์ถั่วมะแฮะ (Pigeonpea Speed Breeding Protocol) เป็นครั้งแรกของโลก โดยจะช่วยลดเวลาในการพัฒนาสายพันธุ์ถั่วมะแฮะที่มีลักษณะพึงประสงค์ เพื่อใช้เป็นอาหารให้กับชุมชนในพื้นที่แห้งแล้งได้เร็วขึ้น
ถั่วมะแฮะ เป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้เป็นอาหารในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน โดยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพของดินทั่วโลก และได้รับการยกย่องในด้านคุณค่าทางโภชนาการและความอเนกประสงค์ โดยทั่วไปการปรับปรุงพันธุ์ถั่วมะแฮะจะใช้เวลาถึง 13 ปี ด้วยแนวทางปฎิบัติใหม่ที่เน้นไปที่วัสดุในการปรับปรุงพันธุ์และการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เช่น ช่วงแสง อุณหภูมิ และความชื้น วงจรการปรับปรุงพันธุ์จะสามารถลดให้เหลือเพียง 2 – 4 ปีเท่านั้น
Dr. Jacqueline Hughes ผู้อำนวยการทั่วไปของ ICRISAT เน้นย้ำถึงผลลัพธ์ของนวัตกรรมดังกล่าวว่า “แนวทางปฎิบัติใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์ถั่วมะแฮะนี้ แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สำคัญสำหรับภูมิภาคที่ผลิตถั่วมะแฮะที่สำคัญ โดยปูทางไปสู่การพึ่งพาตนเองในการผลิตถั่วมะแฮะ และตอบสนองความต้องการด้านอาหารของประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย เมียนมาร์ เคนยา แทนซาเนีย และโมซัมบิก”
ครับ ในแต่ละปี จะปลูกได้ 2 – 4 รุ่น
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://pressroom.icrisat.org/icrisat-breakthrough-worlds-first-pigeonpea-speed-breeding-protocol-to-bolster-food-security-in-drylands-of-asia-and-africa