โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University) ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ได้พัฒนาข้าวที่เพาะเนื้อ (cultured beef rice) โดยในเมล็ดข้าวจะมีกล้ามเนื้อสัตว์และเซลล์ไขมันอยู่ข้างใน ซึ่งผลการศึกษาได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Matter แสดงให้เห็นว่าข้าวที่เพาะเนื้อมีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 8 และมีไขมันมากกว่าร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับข้าวทั่วไป
สัตว์จำเป็นต้องมีโครงทางชีวภาพเพื่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและอวัยวะ นักวิจัยจึงใช้เมล็ดข้าวเป็นโครงแข็งสำหรับสร้างเซลล์ที่ได้จากสัตว์ หลังจากเคลือบเมล็ดข้าวด้วยเจลาตินปลา (fish gelatin) แล้ว สเต็มเซลล์ของกล้ามเนื้อและไขมันวัว ก็ถูกเพาะลงในข้าวและปล่อยให้เจริญเติบโตในจานเพาะเชื้อเป็นเวลา 9 ถึง 11 วัน
ทีมงานระบุว่า ข้าวที่เพาะเนื้อสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมากในราคาที่ถูกกว่าเมื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ Sohyeon Park ผู้เขียนรายงานการวิจัยกล่าวว่า “ตอนนี้ได้เห็นโลกแห่งความเป็นไปได้สำหรับอาหารลูกผสมที่ทำจากเมล็ดข้าว ซึ่งวันหนึ่งข้างหน้าจะสามารถใช้เป็นอาหารบรรเทาความอดอยาก อาหารเสบียงของทหาร หรือแม้แต่อาหารในอวกาศได้”
ครับ น่าจะเป็นอาหารในอนาคต
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cell.com/matter/fulltext/S2590-2385(24)00016-X