การแก้ไขยีนช่วยลดการเน่าเสียของกล้วยที่เป็นสีน้ำตาลน่าเกลียด

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

กล้วยที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากผลไม้สุกเกินไปและผลิตเอทิลีนมากเกินไป การเปลี่ยนเม็ดสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลเรียกว่า ปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ (enzymatic browning) และได้รับการส่งเสริมจากเอทิลีนในปริมาณสูง แม้ว่าจะไม่ทราบถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการกินกล้วยที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่ก็มีรสหวานเกินไปและขึ้นราและเริ่มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์

Tropic ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรจากสหราชอาณาจักร อ้างว่าได้แก้ไขปัญหานี้แล้ว ด้วยการสร้างพันธุ์กล้วยโดยใช้เทคโนโลยีการแก้ไขยีน เพื่อพัฒนากล้วยต้านทานโรคที่ไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และยังสามารถแก้ปัญหาโรคตายพราย (Panama disease) ได้อีกด้วย

กล้วยที่ “ไม่เป็นสีน้ำตาล” ของ Tropic ยังได้รับอนุญาตจากกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาตามกฎระเบียบด้านการแก้ไขยีนอย่างเข้มงวด

นอกจากนี้ กล้วยที่ไม่เป็นสีน้ำตาล ของ Tropic จะช่วยลดขยะอาหารและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าร้อยละ 25 เนื่องจากกล้วยที่ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60 เป็นโรคหรือกลายเป็นของเสียก่อนถึงมือผู้บริโภค กล้วยที่ผ่านการแก้ไขยีนสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่ากับการนำรถยนต์โดยสารออกจากถนน 2 ล้านคันในแต่ละปี

ครับ เป็นอีกหนึ่งพืชที่แก้ไขยีนและได้รับอนุญาตกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.am/eng/news/801005.html#google_vignette