โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิ
นักวิจัยจากมหาวิทยตาลัยเกษตรและวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งฮังการี (Hungarian University of Agriculture and Life Sciences) และพันธมิตร ได้ระบุยีนในข้าวบาร์เลย์ที่ควบคุมขนาดเมล็ดและปริมาณโปรตีน การค้นพบนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Plant Science
ยีน GW2 (Grain Width and Weight 2) เป็นยีนที่ควบคุมขนาดและน้ำหนักของเมล็ดธัญพืช การปิดยีนนี้ให้หยุดทำงานอาจนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ในการศึกษา ทีมวิจัยใช้ CRISPR-Cas9 เพื่อหยุดการทำงานของยีน GW2.1 ในข้าวบาร์เลย์ ส่งผลให้เมล็ดข้าวยาวขึ้นและมีปริมาณโปรตีนดีขึ้น แต่ลดผลผลิตโดยรวมลงอย่างมาก
จากการที่มีจำนวนเมล็ดลดลง และให้ผลที่สอดคล้องกันในสภาพการเจริญเติบโตต่าง ๆ ซึ่งบ่งบอกถึงความสมดุลที่ละเอียดอ่อนภายในยีน ที่ส่งผลต่อคุณภาพของเมล็ดแต่ละเมล็ดและผลผลิตโดยรวม ซึ่งการค้นพบนี้สามารถช่วยพัฒนาพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้นได้ แต่นักวิจัยจำเป็นต้องค้นหาวิธีเอาชนะผลผลิตที่ลดลง
ครับ ขนาดเมล็ดที่เพิ่มขึ้นอาจไม่จำเป็นต้องมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0168945223003850