การศึกษาเชิงปริมาณพบว่า สื่อในเคนยาให้ข้อมูลสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเชิงลบถึง 40%

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ในการศึกษาบทความสื่อเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่ตีพิมพ์โดยสื่อเคนยา ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงมกราคม พ.ศ. 2566 พบว่า 151 บทความจากทั้งหมด 376 บทความ มีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเชิงลบเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่ไม่มีใครทักท้วง ซึ่งเท่ากับร้อยละ 40 ของการรายงานข่าวของสื่อในประเทศเคนยา ที่ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเชิงลบเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และมีบทความเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่สนับสนุนข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

-การสื่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้องส่วนใหญ่ในสื่อเคนยา มากกว่าร้อยละ 80 จะเกี่ยวข้องกับหัวข้อสุขภาพของมนุษย์ โดยประเด็นฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม จะมีการกล่าวถึงเพียงร้อยละ 10

-ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดในรูปแบบของการอ้างคำพูดจากนักการเมืองชื่อดังของเคนยา โดยเฉพาะ Raila Odinga ซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายค้าน Moses Kuria ซึ่งเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีการค้า และ George Wajackoyah ซึ่งเป็นผู้นำพรรค Roots ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องยังมาจากกลุ่มรณรงค์ต่อต้านสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เช่น สันนิบาตเกษตรกรเคนยา แหล่งข้อมูลทั้งหมดนี้ ได้กล่าวอ้างอย่างไม่มีมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งสื่อต่าง ๆ ก็ไม่ทักท้วง

-สัดส่วนของข้อมูลที่ผิดที่สูงมากนี้ อาจเป็นหนึ่งในสัดส่วนที่เลวร้ายที่สุดในโลก และจะทำให้พลเมืองเคนยาและผู้กำหนดนโยบายตัดสินใจอย่างรอบรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมท่ามกลางข้อมูลที่ผิดมากมายเช่นนี้ได้ยากมาก เพื่อให้ประเทศมีการถกเถียงอย่างมีประสิทธิผล เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมต่อความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ สื่อจะต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษที่จะไม่กล่าวถึงคำกล่าวอ้าง แม้แต่จากบุคคลสำคัญซึ่งมีข้อมูลที่ผิดโดยไม่มีการโต้แย้งก็ตาม นักวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นนักสื่อสารที่ดีขึ้น และสื่อจะต้องอุทิศพื้นที่ให้กับเสียงทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ในหัวข้อที่เป็นข้อขัดแย้งนี้

ครับ บ้านเราน่าจะมีสัดส่วนของข้อมูลที่บิดเบือนมากกว่านี้!!

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://allianceforscience.org/wp-content/uploads/2023/02/GMO-misinformation-in-the-Kenyan-media-1.pdf