โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยวสุภาษิต
นักวิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมมะเขือเทศเชอรี่ เพื่อให้เจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น และทำให้ชีวิตอยู่รอดมากขึ้นสำหรับการทำฟาร์มในร่มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และอาจจะรวมถึงการใช้เพื่อการเดินทางในอวกาศ
นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในห้องทดลองโคลด์สปริงฮาร์เบอร์ (Cold Spring Harbor Laboratory) ใช้เทคโนโลยีแก้ไข/ปรับแต่งยีนที่เรียกว่า CRISPR เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงยีนสำคัญ 3 ยีนที่อยู่ในดีเอ็นเอของมะเขือเทศเชอรี่ ยีน 2 ยีนมีหน้าที่ในช่วงที่พืชหยุดการเจริญเติบโตและเริ่มออกดอกและติดผล ส่วนยีนที่ 3 จะควบคุมความยาวของลำต้น
ผลลัพธ์ที่ได้จากการแก้ไข/ปรับแต่งยีน คือ ต้นมะเขือเทศเชอรี่ที่มีขนาดกะทัดรัดมากขึ้น ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นกระจุก เหมือนต้นองุ่น และยังเจริญเติบโตได้เร็วกว่ามะเขือเทศเชอรี่ที่ปกติ โดยใช้เวลาประมาณ 40 วันเท่านั้น
Zach Lippman นักชีววิทยาด้านพืช กล่าวว่า “สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า เราสามารถปรับปรุงพันธุ์พืชในรูปแบบใหม่ได้อย่างไร โดยไม่ต้องไถพรวนดินให้มากหรือใส่ปุ๋ยมากเกินไปที่ปุ๋ยส่วนเกินจะไหลลงสู่แม่น้ำและลำธาร” และ “นี่จะเป็นแนวทางเสริมเพื่อใช้เป็นอาหารให้กับผู้คนในท้องถิ่นและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์”
คำกล่าวดังกล่าวยังอธิบายเป้าหมายของโครงการว่า เป็นการเปลี่ยนภาระบางส่วนในการปลูกพืชของโลก และเปลี่ยนจากพื้นที่เพาะปลูกที่เก็บภาษีมากเกินไป ไปยังพื้นที่ในเมืองและพื้นที่อื่น ๆ
ครับ เป็นการใช้เทคโนโลยีการแก้ไข/ปรับแต่งยีน ช่วยในการปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศเชอรี เพื่อให้เหมาะสมกับการปลูกในโรงเรือน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thecooldown.com/green-tech/cherry-tomatoes-crispr-gene-editing-indoor-farms