ปรับปรุงพันธุกรรม “ต้นคริสต์มาส” ให้เติบโตเร็ว-รักษาใบเข็มได้นานขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

โครงการพันธุศาสตร์ต้นคริสต์มาสของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ธแคโรไลนา (North Carolina State University – NC State) ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้เวลากว่าสี่ทศวรรษในการพัฒนาต้นสนเฟรเซอร์ (Fraser fir trees) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเทือกเขาแอปพาเลเชียนของรัฐนอร์ทแคโรไลนา (North Carolina’s Appalachian mountains) และใช้เป็นต้นคริสต์มาสมากกว่าร้อยละ 98 ของต้นคริสต์มาสทั้งหมดที่ปลูกและขายในรัฐ

Fraser Fir เป็นหนึ่งในต้นคริสต์มาสที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีรูปทรงกรวยที่สมมาตร และมีใบเข็มสีเขียวเข้มที่อ่อนนุ่มและมีสีเงินอยู่ด้านล่าง ในช่วงปลายทศวรรษ (ค.ศ. 1990) โครงการ Christmas Tree Genetics ได้ประเมินและทดสอบต้น Fraser firs หลายพันต้น เพื่อจำแนกต้นที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีที่สุด ทีมวิจัยจำแนกต้นที่ดีที่สุดได้ 25 ต้นจากเกือบ 30,000 ต้น จากนั้นจึงขยายพันธุ์และปลูกในสวนในพื้นที่ 6 เอเคอร์ที่สถานีวิจัย Upper Mountain ในปี พ.ศ. 2561

Justin Whitehill ผู้อำนวยการโครงการ Christmas Tree Genetics กล่าวว่า ต้น Fraser firs ที่ได้รับการปรับปรุงทางพันธุกรรม มีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1 ฟุต ซึ่งสูงกว่าต้นที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน โดยมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น 1-2 นิ้วต่อปี ดังนั้น แทนที่จะต้องรอ 7-8 ปีเพื่อให้ต้นมีความสูงเชิงพาณิชย์ตามปกติ ผู้ปลูกอาจต้องรอเพียง 6-7 ปีเท่านั้น

ต้น Fraser firs ที่ได้รับการปรับปรุงทางพันธุกรรมไม่เพียงแต่มีอัตราการเจริญเติบโตและรูปลักษณ์ที่เหนือกว่าเท่านั้น แต่ยังรักษาใบเข็มหลังการเก็บเกี่ยวไว้ได้นานขึ้น ต้น Fraser firs ที่พัฒนาโดยโครงการ Christmas Tree Genetics คาดว่าจะสูญเสียใบเข็มน้อยกว่าร้อยละ 1-2 ตามข้อมูลของ Whitehill แม้ว่าจะไม่มีอุณหภูมิที่เย็นกว่าก็ตาม

ครับ การปรับปรุงพันธุกรรมพืช มีความจำเป็น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.ncsu.edu/2023/12/3-benefits-of-genetically-improved-christmas-trees/