ปลาไหลไฟฟ้าถ่ายฝากยีนไปยังสัตว์ใกล้เคียงโดยการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนาโกย่า (Nagoya University) ในญี่ปุ่น พบว่า ปลาไหลไฟฟ้าสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อดัดแปลงพันธุกรรมตัวอ่อนของปลาตัวเล็กผ่าน electroporation (วิธีการส่งถ่ายเข้าสู่เซลล์) เทคนิคการส่งยีนนี้ช่วยให้ DNA หรือโปรตีนเข้าสู่เซลล์เป้าหมายผ่านการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า

นักวิจัยใช้เครื่องหมายเรืองแสงในที่มืดเพื่อดูว่าปลาม้าลายได้นำ DNA มาจากปลาไหลไฟฟ้าหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 5 ของตัวอ่อนปลาม้าลาย มีเครื่องหมายที่บ่งชี้ว่าปลาไหลไฟฟ้าสามารถถ่ายฝากยีนของปลาไหลไฟฟ้าได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Atsuo Iida หนึ่งในผู้นำทีมวิจัย เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า electroporation สามารถเกิดขึ้นได้ในธรรมชาติ โดยกล่าวว่า “ปลาไหลไฟฟ้าในแม่น้ำอเมซอน สามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานได้ดี

สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยรอบสามารถทำหน้าที่เป็นเซลล์ผู้รับได้ และชิ้นส่วน DNA ของสิ่งแวดล้อมที่ถูกปล่อยลงสู่น้ำจะกลายเป็นยีนแปลกปลอม ทำให้เกิดการรวมตัวกันทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตโดยรอบ เพราะ electric discharge (ไฟฟ้าสถิต – การถ่ายประจุระหว่างวัสดุหรือชิ้นส่วนของวัสดุที่มีศักดิ์ไฟฟ้าต่างกัน)”

ครับ เป็นหลักฐานยืนยันให้เห็นว่า มีการถ่ายฝากยีนเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nagoya-u.ac.jp/researchinfo/result-en/2023/12/20231207-01.html