พืชดัดแปลงพันธุกรรมช่วยแก้ปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหาร

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ความไม่มั่นคงด้านอาหารและภาวะทุพโภชนาการ เป็นปัญหาด้านสุขภาพของมนุษย์ที่ร้ายแรงที่สุดในปัจจุบัน เมื่อประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น ความต้องการอาหารก็เพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกไม่เพิ่มขึ้น จึงต้องหาทางเลือกอื่นสำหรับความมั่นคงทางอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณ 9.9 พันล้านคนภายในปี พ.ศ. 2593

ยิ่งไปกว่านั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการควบคุมการสูญเสียพืชผลเนื่องจากศัตรูพืชเพียงอย่างเดียว คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 – 40 ของการสูญเสียพืชผลทั้งหมดทั่วโลก การปรับปรุงพันธุ์พืชแบบเดิมไม่สามารถแก้ปัญหาความต้องการอาหารทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นได้อีกต่อไป

ประโยชน์บางประการของเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมการเกษตร ได้แก่ ผลผลิตพืชที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตอาหารหรือยาที่ลดลง ความต้องการสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูที่ลดลง องค์ประกอบของสารอาหารและคุณภาพอาหารที่เพิ่มขึ้น และความต้านทานต่อศัตรูพืชและโรคพืช

พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ปลูกเชิงพาณิชย์ในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ มันฝรั่ง สควอช ฟักทอง อัลฟัลฟา มะเขือม่วง ซูการ์บีท มะละกอ คาโนลา ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าว สตรอเบอร์รี่ ฝ้าย และมะเขือเทศ

โดยเฉลี่ยแล้ว การเลือกใช้เทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรม ได้ลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชลง ร้อยละ 37 เพิ่มผลผลิตพืช ร้อยละ 22 และเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ร้อยละ 68 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและการลดสารกำจัดศัตรูพืชสำหรับพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรู จะมีสัดส่วนที่มากกว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืช

ครับ แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีแก้ไขยีน แต่ก็ยังทิ้งไม่ได้จากประโยชน์ของเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://thefinancialexpress.com.bd/views/gm-crops-a-truly-feasible-way-out-for-food-security