แนะนักวิทยาศาสตร์ควรใช้โซเชียลมีเดียสู้กับกลุ่มที่บิดเบือน ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรสมัยใหม่

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธุ์ เอี่ยมสุภาษิต

หนึ่งในคำแนะนำที่สำคัญจากรายงานการวิจัยที่ทำโดยวิทยาลัยการสื่อสารเพื่อการพัฒนา (College of Development Communication – CDC) ของ UPLB และ International Service for the Acquisition of Agri-biotech Applications, Inc. (ISAAA) ท่ามกลางผู้ตอบแบบสอบถาม 1,180 รายจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ใน ฟิลิปปินส์ นั่นคือ นักวิทยาศาสตร์ควรใช้โซเชียลมีเดียเพื่อต่อสู้กับข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรสมัยใหม่

จากการศึกษาเรื่อง “Revisiting Public Perception of Agri-biotechnology: 16 Years After the Public Debates on GM Crops (การทบทวนการรับรู้ของสาธารณะเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร: 16 ปีหลังจากการโต้วาทีสาธารณะเกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม)” พบว่าโซเชียลมีเดียอย่างเช่น Facebook และ YouTube เป็นเวทีที่ผู้ตอบแบบสำรวจใช้บ่อยที่สุด

ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์เป็นแหล่งที่เชื่อถือได้มากที่สุดของข้อมูลเกษตร-เทคโนโลยีชีวภาพ ด้วยเหตุนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจจึงเรียกร้องให้นักวิทยาศาสตร์เพิ่มการใช้โซเชียลมีเดียให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อนำข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และเพื่อทำลายความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ให้สาธารณชนได้เข้าถึงอย่างแข็งขัน

โดยผู้ศึกษาเชื่อว่าโซเชียลมีเดียสามารถพัฒนาความเข้าใจสาธารณะเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร และกลยุทธ์การสื่อสารต่าง ๆ ที่สามารถใช้ในการให้ความรู้แก่สาธารณชนได้อย่างมาก เช่น การร่วมมือกับ influencers (คนที่มีอิทธิพลบนสื่อโซเชียลมีเดียในด้านความคิดและการตัดสินใจ มีผู้ติดตามและเป็นที่รู้จักจำนวนมาก) หรือการผลิตวิดีโอขนาดสั้นที่น่าสนใจ

ครับ ก็เรียกร้องให้นักวิจัยได้ใช้โซเชียลมีเดียในการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.isaaa.org/resources/publications/perceptionstudies/publicperception16years/pdf/Public_Perception_on_Agribiotechology.pdf