การแก้ไขยีนจัดเป็นเครื่องมือทางการเกษตรที่ล้ำสมัย

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และ ความต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น จึงเป็นความท้าทายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นสำหรับการเพาะปลูกธัญพืช ผลไม้ และผัก ตลอดจนคุณค่าทางโภชนาของอาหาร การปรับปรุงพันธุ์พืชแบบดั้งเดิมร่วมกับการผสมพันธุ์ ได้ช่วยเพิ่มผลผลิตพืช รวมทั้งช่วยเพิ่มส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์ของอาหาร อย่างไรก็ตาม วิธีการเหล่านี้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายได้

เทคโนโลยีการแก้ไขยีน เป็นเครื่องมือใหม่ เช่น CRISPR, TALENs และ ZFNs ที่ช่วยให้สามารถแก้ไขยีนพืชและสัตว์ได้อย่างแม่นยำเพื่อปรับปรุงลักษณะตามต้องการ อาหารที่มาจากการแก้ไขยีนมีข้อดีหลายประการ เช่น เพิ่มผลผลิตพืช เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ เพิ่มความต้านทานความเครียดและความต้านทานโรค อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมอาหารที่มาจากการแก้ไขยีนต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การวิจัยด้านความปลอดภัย ความแตกต่างด้านกฎระเบียบระหว่างประเทศ และการรับรู้และการยอมรับของสาธารณะ

เพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้อาหารที่มาจากการแก้ไขยีนในวงกว้าง การเสริมสร้างการวิจัยด้านความปลอดภัย การทำให้กฎระเบียบระหว่างประเทศมีความสอดคล้องกัน และการสร้างความตระหนักรู้ของสาธารณชนถือเป็นสิ่งสำคัญ จึงเป็นที่มาของการทบทวนนี้ โดยเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีการแก้ไขยีนและการประยุกต์ใช้ในพืช การทบทวนกฎระเบียบทางกฎหมายและทัศนคติของประเทศต่าง ๆ ที่มีต่ออาหารที่มาจากการแก้ไขยีน และให้มุมมองเกี่ยวกับอนาคตของอาหารที่มาจากการแก้ไขยีน

สรุปได้ว่า การเกิดขึ้นของการแก้ไขยีนที่มีความแม่นยำ ช่วยบรรเทาความกังวลของสาธารณชนเกี่ยวกับการนำส่วนพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตอื่นมาสู่อาหารได้ในระดับที่มีนัยสำคัญ และความก้าวหน้าตามลำดับของเทคโนโลยีเหล่านี้ ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นความลึกและการขยายการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเผยศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัดของอนาคตของการแก้ไขยีนอีกด้วย ด้วยการใช้เทคนิคการแก้ไขที่แม่นยำ ทำให้สามารถจัดหาพันธุ์ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องถ่ายฝากยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น การแก้ไขยีนที่แม่นยำจะเกิดขึ้นในทำนองเดียวกันกับที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ และการเริ่มต้นของเทคนิคที่พิถีพิถันเหล่านี้ นำไปสู่การกำหนดเส้นทางที่ล้ำหน้าสำหรับอนาคตของนวัตกรรมอาหารไปพร้อม ๆ กัน

ครับ ไม่ทราบว่ารัฐบาลมีการศึกษาข้อมลูลในเรื่องเหล่านี้หรือไม่

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://academic.oup.com/fqs/advance-article/doi/10.1093/fqsafe/fyad045/7308755?login=false