ผักกาดหอม- ผักกาดน้ำญี่ปุ่นดัดแปลงพันธุกรรม แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ E. Coli

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของประเทศยูเครน (National Academy of Sciences of Ukraine) และ Nomad Bioscience GmbH ในเยอรมนี พัฒนาผักกาดหอม (Lactuca sativa L.) และผักกาดน้ำญี่ปุ่น หรือ Mizuna (Brassica rapa subsp. nipposinica var. laciniata) ดัดแปลงพันธุกรรม ที่แสดง Colicin M (ColM) อย่างเสถียร ซึ่งเป็นโปรตีนต้านจุลชีพที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ (non-antibiotic antimicrobial protein) ที่พบในเชื้อ Escherichia coli (E. coli) บางสายพันธุ์

1.coli เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของการเจ็บป่วยจากอาหารมาเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ และในบางกรณีอาจถึงแก่ชีวิตได้ ผักใบเขียว เช่น ผักกาดหอมและ ผักกาดน้ำญี่ปุ่น เป็นแหล่งของการติดเชื้อ E. coli ที่พบการปนเปื้อนได้บ่อย ดังนั้น นักวิจัยจึงได้พัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมผ่านการดัดแปลงโดยอาศัย Agrobacterium กับพาหะที่มียีน ColM

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของพืชดัดแปลงพันธุกรรมยังคงมีอยู่ในผักกาดหอม และ ผักกาดน้ำญี่ปุ่น ดัดแปลงพันธุกรรม ที่มียีน ColM งานวิจัยนี้ช่วยเร่งการพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรียจากอาหาร

ครับ ทำให้มั่นใจในการรับประทานมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpls.2023.1271757/abstract