โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การศึกษาที่นำโดย Benjamin Z. Houlton และ Ronald P. Lynch Dean จากวิทยาลัยเกษตรและวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต (College of Agriculture and Life Sciences) Cornell University และ Maya Almaraz ผู้ช่วยนักวิจัยที่ Princeton University แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีการเกษตรที่ล้ำสมัยและ การจัดการ ไม่เพียงแต่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ยังกำจัดได้หมดด้วยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิที่เป็นลบ ซึ่งจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าที่เพิ่มขึ้นจากระบบอาหาร
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS Climate ยังรายงานว่าการใช้เทคโนโลยีการเกษตร อาจส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิติดลบมากกว่า 13 พันล้านตันในแต่ละปี จากรายงานดังกล่าว เครือข่ายระบบอาหารของโลกสร้างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกระหว่างร้อยละ 21 ถึง 37 ในแต่ละปี ด้วยจำนวนประชากรโลกที่เข้าใกล้ 1 หมื่นล้านคนภายในช่วงกลางศตวรรษ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของระบบอาหารทั่วโลก หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ตรวจสอบ อาจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 และ 80 ภายในปี พ.ศ. 2593
การวิจัยก่อนหน้านี้ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงอาหารเป็นกุญแจสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอาหาร แต่ Houlton และ Almaraz เชื่อว่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจทำได้มากกว่านี้ ซึ่งจากการศึกษาที่ได้ตรวจสอบทั้งการเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารและเทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อเป็นทางเลือกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจากแบบจำลองใหม่แสดงให้เห็นว่า วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คือ การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนดินสำหรับพืชปลูก พัฒนาวนเกษตร พัฒนาแนวทางปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวอาหารทะเลอย่างยั่งยืน และส่งเสริมการผลิตปุ๋ยที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน
ครับ ที่น่าสนใจ คือ การปรับเปลี่ยนดินสำหรับพืชปลูก ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องการปรับเปลี่ยนดินให้เป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจากการศึกษาเสนอให้ใส่ Silicate Rock Dust รวมทั้ง biochar หรือถ่านชีวภาพ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.cornell.edu/stories/2023/09/ag-tech-can-cut-billions-tons-greenhouse-gas-emissions