ค้นพบเทคโนโลยีใหม่ในการแก้ไขยีน ช่วยยืดอายุพืชผลที่เน่าเสียง่าย -ต้านทานต่อโรค

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเทคโนโลยีใหม่ในการยืดอายุการเก็บรักษาและพัฒนาการเก็บรักษาพืชอาหาร โดยเฉพาะผักที่เน่าเสียง่าย เช่น มะเขือเทศ กะหล่ำปลี แครอท และพริก ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ในขณะลำเลียงพืชผลจากพื้นที่เพาะปลูกไปยังที่เก็บรักษาและตลาด

เทคโนโลยีที่เรียกว่า การแก้ไขยีน (Genome Editing – GEd) เมื่อนำมาใช้ จะช่วยลดผลตกค้างของสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในผัก และลดต้นทุนของเกษตรกรในการซื้อสารเคมีเกษตร

เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้ในหลายพืช เช่น ข้าว มะเขือเทศ ข้าวโพด อ้อย ถั่วเหลือง และมันฝรั่ง เพื่อควบคุมศัตรูพืชและเพิ่มความต้านทานต่อโรค มีความยืดหยุ่นที่สูงขึ้นต่อความเครียดจากสิ่งไม่มีชีวิต เพิ่มสารอาหารที่สูงขึ้น และเพิ่มศักยภาพในการให้ผลผลิต และในสัตว์ต่าง ๆ เช่น สัตว์ปีก แกะ แพะ โค และสุกร เพื่อเพิ่มความต้านทานโรค ปรับตัวได้ดีกับสภาพการเลี้ยงหรือสภาพแวดล้อม และเพิ่มสวัสดิภาพสัตว์

Florence Nazare ผู้อำนวยการ AUDA-NEPAD กล่าวว่า “หากพืชชนิดหนึ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในบางคน เทคโนโลยีแก้ไขยีน จะทำให้ยีนที่ไม่ต้องการหยุดทำงาน โดยการลบออกหรือปรับระดับการแสดงออก ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยจัดการกับโรคภูมิแพ้ได้”

ครับ เป็นเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สุดในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://newsghana.com.gh/new-technology-to-extend-crops-shelf-life/