กมธ.ด้านพันธุกรรมในนอร์เวย์ ท้าทาย EU เรียกร้องให้กำกับดูแลการแก้ไขยีนเหมือนกับอาหารทั่วไป

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

รายงานจากคณะกรรมการสาธารณะที่ให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลนอร์เวย์ เกี่ยวกับการควบคุมเทคโนโลยีพันธุกรรมในอาหารในอนาคต สรุปได้ว่ากฎระเบียบปัจจุบันที่ใช้กำกับดูแลเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ที่แม่นยำ (precision breeding technique) เช่น การแก้ไขยีน (gene editing) ในนอร์เวย์และสหภาพยุโรปนั้นเข้มงวดเกินไป และเรียกร้องให้มีการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์จากการแก้ไขยีนที่เหมือนกับผลิตภัณฑ์ปกติ ซึ่งเป็นแนวทางที่คล้ายกันกับที่เพิ่งประกาศเป็นทางการในแคนาดา

ในขณะเดียวกันคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป เตรียมที่จะเปิดเผยข้อเสนอสำหรับการกำกับดูแลเทคนิคใหม่ ๆ ด้านจีโนม(new genomic techniques) ในอนาคต และในขณะที่ กระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหารและกิจการชนบท (Department for Environment, Food and Rural Regulation : Defra) ของสหราชอาณาจักร และสำนักงานมาตรฐานอาหาร ได้พัฒนาแผนดำเนินงานที่มีรายละเอียดมากขึ้น เพื่อการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีพันธุกรรมในอังกฤษ รายงานของคณะกรรมการฯ ได้นำเสนอกรณีที่น่าสนใจสำหรับการปรับปรุงการกำกับดูแลให้เหมาะสม และการอนุญาตของเทคโนโลยีที่สำคัญ

ในรายงานระบุว่า “คณะกรรมการทั้งหมดเชื่อว่าเทคโนโลยีพันธุกรรมสามารถมีบทบาทสำคัญในการเผชิญกับความท้าทายในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสุขภาพ” และ เตือนว่ากฎระเบียบที่เข้มงวดโดยไม่จำเป็น จะขัดขวางนวัตกรรมที่สามารถช่วยจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ และสรุปว่ากฎระเบียบในปัจจุบันของเทคโนโลยีพันธุกรรม เช่น การแก้ไขยีนในนอร์เวย์และสหภาพยุโรปนั้นเข้มงวดเกินไป เมื่อเที่ยบกับผลิตภัณฑ์ทั่วไป

โดยสรุปแล้ว รายงานฉบับนี้ได้ทบทวนอย่างครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ที่หน่วยงานกำกับดูแลของสหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรปกำลังจะเผชิญหน้า พร้อมทั้งให้คำแนะนำที่ชัดเจนและสร้างสรรค์เกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://geneticliteracyproject.org/2023/06/13/more-risky-to-maintain-a-strict-regulation-than-to-soften-it-genetic-commission-in-norway-challenges-eu-urges-gene-editing-regulations-similar-to-conventional-foods/