โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยและเครือข่ายของ Ghent University ในเบลเยี่ยม ได้ให้ภาพรวมระดับโลกเกี่ยวกับการยอมรับของสาธารณชนและมุมมองของผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับอาหารที่มาจากการแก้ไขยีน (gene-edited foods) โดยตีพิมพ์เป็นบทความในวารสาร Trends in Biotechnology
นักวิจัยและนักวิชาการได้มีส่วนร่วมต่อสาธารณะส่วนใหญ่เกี่ยวกับการแก้ไขยีน โดยมุ่งเน้นไปที่ความเกี่ยวข้องในด้านการเกษตร และจากวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ สิ่งพิมพ์เกี่ยวกับสิทธิบัตร และรายงานการตลาดได้แสดงให้เห็นว่ามีการใช้งานด้านการแก้ไขยีนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ การทำความเข้าใจมุมมองของสาธารณะและมุมมองของผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับการแก้ไขยีนจึงมีความสำคัญในการคาดการณ์การใช้งานในอนาคต
จากบทความดังกล่าว มีบทเรียนสำคัญที่จะต้องพิจารณาดังนี้
- ทัศนคติต่ออาหารที่มาจากเทคโนโลยีชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่มาจากการแก้ไขยีน ล้วนขึ้นอยู่กับการรับรู้เชิงลบเกี่ยวกับประโยชน์ ความเสี่ยง และการอ้างว่าไม่เป็นธรรมชาติ
- การยอมรับของผู้บริโภค เมื่อพิจารณาจากความเต็มใจที่จะจ่ายนั้น มีการแสดงออกเชิงบวกต่ออาหารที่มาจากการแก้ไขยีนมากกว่าอาหารที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้ว่าอาหารนั้นมีความเป็นธรรมชาติมากกว่า
- ทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับการแก้ไขยีน จะมีผลดีต่อการปรับปรุงกฎระเบียบและการยอมรับ
- การยอมรับอาหารที่มาจากการแก้ไขยีนที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาอาจเพิ่มขึ้น เมื่อนำเสนอถึงคุณประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ครับ ชี้ให้เห็นว่าการสื่อสารยังมีความจำเป็นที่จะสร้างทัศนคติที่ดีของผู้บริโภค
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0167779922003390