มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนส์แลนด์ขออนุญาตเพื่อปลูกกล้วยดัดแปลงพันธุกรรมเชิงพาณิชย์

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ในออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนส์แลนด์ (Queensland University of Technology – QUT) ขออนุญาตกับหน่วยงานผู้ควาบคุมเทคโนโลยียีน (Office of the Gene Technology Regulator – OGTR) เพื่อการปลูกกล้วยดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทาน Fusarium wilt tropical race 4 หรือที่เรียกว่าโรคปานามา ในเชิงพาณิชย์

QUT ไม่ได้ตั้งใจที่จะแทนที่กล้วยคาเวนดิช (กล้วยหอมเขียว) ที่ปลูกในออสเตรเลียในปัจจุบันด้วยกล้วยดัดแปลงพันธุกรรม แต่เพื่อสร้างเครือข่ายความปลอดภัยให้กับอุตสาหกรรมกล้วยของประเทศ หากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคปานามา กล้วยดัดแปลงพันธุกรรมยังมียีนเครื่องหมายยาปฏิชีวนะที่ใช้ในระหว่างการคัดเลือกตามขั้นตอนของการวิจัย ผู้ควบคุมเทคโนโลยียีนจะประเมินความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการปลูกกล้วยดัดแปลงพันธุกรรมเชิงพาณิชย์ รวมถึงแผนการจัดการความเสี่ยงเพื่อจัดการกับความเสี่ยงใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยียีน และจะถูกเผยแพร่โดยผู้ควบคุมเทคโนโลยียีน การวิเคราะห์ความเสี่ยงโดย OGTR สำหรับคำขอนี้จะดำเนินการตามกรอบการวิเคราะห์ความเสี่ยงของหน่วยงานกำกับดูแล

QUT ยังยื่นคำขอต่อมาตรฐานอาหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (Food Standards Australia and New Zealand – FSANZ) สำหรับผลกล้วยและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของกล้วยดัดแปลงพันธุกรรม ที่จะขายเป็นอาหาร การอนุญาตให้นำกล้วยดัดแปลงพันธุกรรมและผลิตภัณฑ์จากกล้วยไปขายเป็นอาหารสำหรับการบริโภคของมนุษย์ในออสเตรเลีย จำเป็นต้องมีการประเมินและอนุญาตตามกฎระเบียบแยกต่างหากจาก FSANZ หน่วยงาน OGTR ได้เผยแพร่ขั้นตอนต่อไปในกระบวนการตัดสินใจสำหรับการปลูกกล้วยดัดแปลงพันธุกรรม ดังนี้

1.หน่วยงานกำกับดูแลจะขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานและหน่วยงานต่าง ๆ และสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แต่จะยังไม่มีการปรึกษาหารือสาธารณะ (public consultation), 2.หน่วยงานกำกับดูแลจะเตรียมการในส่วนของการจัดทำการปรึกษาสาธารณะที่เกี่ยวกับผลของการประเมินความเสี่ยงและแผนการจัดการความเสี่ยง (Risk Assessment and Risk Management Plan – RARMP) ที่ได้รับจากคำแนะนำ

3.สำหรับการปรึกษาหารือสาธารณะเกี่ยวกับ RARMP คาดว่าจะเริ่มในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 นอกจากนี้ จะขอให้ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ ให้คำแนะนำจากเพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งจะใช้เวลาอย่างน้อย 30 วันในการปรึกษาหารือสาธารณะ ,4.ขั้นตอนต่อมาคือการสรุปผลที่เกี่ยวข้องกับ RARMP, และ 5.สุดท้าย หน่วยงานกำกับดูแลจะตัดสินใจว่าจะออกใบอนุญาตหรือไม่ และการตัดสินใจนี้ต้องทำภายในวันที่ครบกำหนดทางกฎหมาย

ครับ นี่คือส่วนหนึ่งของขั้นตอนกำกับดูแลสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งไม่มีอะไรซับซ้อน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ogtr.gov.au/gmo-dealings/dealings-involving-intentional-release/dir-199