โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (University of Copenhagen) ประเทศเดนหมาร์ก ได้ค้นพบพืชที่มียีน oncogenic loci (rol) ที่มาจากแบคทีเรีย Rhizobium rhizogenes ที่มีการถ่ายฝากให้กับพืชหลากหลายชนิดเมื่อหลายล้านปีก่อน โดยผ่านกระบวนการทางธรรมชาติ แบคทีเรีย R. rhizogenes มีความสามารถพิเศษในการถ่ายโอนยีนของตัวเองไปยังพืชอาศัย และเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของพืช
Henrik Lütken และทีมวิจัยของเขาที่ Department of Plant and Environmental Sciences ของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ซึ่งทำงานเกี่ยวกับไม้กระถางสังเกตเห็นว่าพืชที่ถูกเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมจะมีรากที่มากและยาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทีมงานตั้งสมมติฐานว่ายีนของแบคทีเรียอาจช่วยให้พืชทนแล้งได้
ทีมวิจัยจึงได้ทำการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้พืชป่าและพืชที่มีพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติในการทดลองความทนแล้ง จากข้อมูลของ Lütken ผลลัพธ์ที่ได้จะมีความสำคัญเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้สร้างแรงกดดันต่อพืชหลากหลายชนิด และสหภาพยุโรปยังคงปิดไม่ให้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม
หากยุโรปยังคงรักษานโยบายสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในปัจจุบัน R. rhizogenes สามารถช่วยเร่งการพัฒนาตามธรรมชาติของพืชที่ทนแล้งได้ เนื่องจากวิธีการนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมตามธรรมชาติของแบคทีเรีย และไม่อยู่ภายใต้คำจำกัดความของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการทำให้เมล็ดเรพซีด (oilseed rape) ทนต่อความแห้งแล้งด้วยระบบรากที่แข็งแรง
ครับ เป็นการถ่ายฝากยีนที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.ku.dk/all_news/2023/05/incredible-bacterium-can-transfer-its-genes-into-plants-and-give-them-superpowers/