ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรูพืชสร้างผลกำไรมหาศาลให้เกษตรกรในเคนยา

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

แม้จะเกิดภัยแล้งรุนแรงในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นเวลา 4 ปี แต่ชาวไร่ฝ้ายในเทศมณฑลลามู (Lamu county) ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากมาย เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เมื่อเกษตรกรเริ่มปลูกฝ้ายบีที ซึ่งเป็นพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม หลังจากที่เคยละทิ้งฝ้ายเนื่องจากผลผลิตต่ำและราคาตกต่ำ แต่องค์การวิจัยการเกษตรและปศุสัตว์ของเคนยา ระบะว่า ฝ้ายบีทีได้รับการปรับปรุงพันธุกรรมให้ต้านทานหนอนเจาะสมอแอฟริกัน ซึ่งเป็นศัตรูพืชทำลายฝ้ายมากที่สุด

ในปี พ.ศ. 2562 ฝ้ายบีทีกลายเป็นพืชเทคโนโลยีชีวภาพชนิดแรกที่ปลูกในเคนยา หลังจากที่คณะรัฐมนตรีอนุญาตให้เพาะปลูกเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้คณะรัฐนตรีของเคนยา ให้เหตุผลว่า  การอนุญาตดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และในที่สุดจะฟื้นฟูอุตสาหกรรมฝ้าย จนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 รัฐบาลได้มอบเมล็ดฝ้ายบีทีฟรีแก่เกษตรกร แม้ว่าจะมีเกษตรกรบางส่วนจองไว้ และเกษตรกรผู้ที่ตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำไร่ฝ้ายตอนนี้กำลังเดินยิ้มไปจนถึงธนาคาร

Simon Muguru เกษตรกรชาวเคนยา กล่าวว่า ด้วยผลผลิตสูงที่เราได้เห็น ผมเชื่อว่าในอนาคตข้างหน้า เกษตรกรจำนวนมากขึ้นจะเข้ามามีส่วนร่วม และสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มการผลิต” และ เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนชาวไร่ฝ้าย โดยทำให้ปุ๋ยราคาถูกและเพิ่มราคาผลผลิต

ครับ เกษตรกรไทยจะมีโอกาศได้เดินยิ้มบ้างไหมหนอ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.the-star.co.ke/counties/coast/2023-04-03-agribusiness-lamu-farmers-make-fortune-from-gmo-cotton/