โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
เมล็ดพันธุ์ที่ถูกส่งไปยังอวกาศเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 คาดว่าจะกลับสู่โลกหลังจากผ่านไปสี่เดือน การทดลองนี้นำโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาพืชชนิดใหม่ ที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร
เมล็ด Arabidopsis (พืชต้นแบบ) และเมล็ดข้าวฟ่าง เดินทางไปกับกระสวยบรรทุกสินค้าจาก Wallops Flight Facility ของ NASA สู่อวกาศ ซึ่งเมล็ดทั้ง 2 นี้จะได้สัมผัสกับสภาวะที่อยู่นอกโลก เช่น รังสีคอสมิก สภาวะไร้น้ำหนัก และอุณหภูมิที่ร้อนจัดทั้งภายในและภายนอกสถานีอวกาศนานาชาติ
เมื่อเมล็ดพันธุ์ของพืชทั้ง 2 ชนิดกลับสู่โลก ซึ่งคาดว่าจะประมาณในเดือนเมษายน เมล็ดเหล่านั้นจะถูกเพาะปลูกและคัดกรองโดยนักวิจัยที่ศูนย์เทคนิคนิวเคลียร์เพื่ออาหารและการเกษตร ซึ่งทำงานร่วมกันระหว่าง FAO/IAEA ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ที่เกิดจากอวกาศ จะถูกบันทึก
Rafael Mariano Grossi ผู้อำนวยการใหญ่ของ IAEA กล่าวว่า “นี่คือวิทยาศาสตร์ที่อาจส่งผลกระทบอย่างแท้จริงต่อชีวิตผู้คนในอนาคตอันไม่ไกลนัก โดยช่วยให้เราปลูกพืชที่แข็งแรงขึ้นและเลี้ยงผู้คนได้มากขึ้น” และ “นักวิทยาศาสตร์ของ IAEA และ FAO ได้สร้างเมล็ดพันธุ์กลายพันธุ์มาแล้วเป็นเวลา 60 ปี และสร้างพืชที่แข็งแรงกว่าหลายพันชนิดให้โลกได้ใช้ประโยชน์ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่เราได้ทดลองในสิ่งที่น่าตื่นเต้นของสาขาชีวดาราศาสตร์”
ครับ รอดูผลการทดลองว่าจะตื่นเต้นมากเพียงใด
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.fao.org/newsroom/detail/FAO-IAEA-seeds-in-space-cosmic-crops-for-food-security-and-climate-change-adaptation/en