โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
Rothamsted Research ได้รายงานผลการทดสอบภาคสนามของพันธุ์ข้าวสาลีแก้ไขยีน (gene edited wheat) ของสหราชอาณาจักรหรืออังกฤษ ซึ่งทำเสร็จสิ้นแล้ว และขณะนี้อยู่ใกล้ขั้นตอนการนำพันธุ์ข้าวสาลีที่มีระดับแอสพาราจินต่ำ (lower asparagine levels) มาสู่เกษตรกรและผู้บริโภค
การทดสอบภาคสนามแสดงให้เห็นว่าระดับแอสพาราจีนของข้าวสาลีที่แก้ไขยีนนั้นต่ำกว่าพันธุ์ Cadenza ถึงร้อยละ 50 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ใช้เปรียบเทียบในระหว่างการศึกษา แอสพาราจีนในเมล็ดข้าวสาลีจะเปลี่ยนเป็นอะคริลาไมด์ (acrylamide) เมื่อปรุงสุก ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง แป้งที่ทำจากข้าวสาลีที่ผ่านการแก้ไขยีน พบว่าระดับอะคริลาไมด์ลดลงถึงร้อยละ 45 ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบภาคสนามสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่รวบรวมไว้ก่อนหน้านี้ระหว่างการทดสอบที่ทำอยู่
การควบคุมระดับอะคริลาไมด์เป็นข้อกังวลหลักสำหรับผู้แปรรูปอาหารที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับการมีอยู่ในอาหาร โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงสายการผลิตหรือลดคุณภาพผลิตภัณฑ์ การมีแหล่งแป้งสาลีที่มีแอสพาราจีนต่ำจะส่งผลอย่างมากต่อการบริโภคอะคริลาไมด์ในอาหารของผู้บริโภค
นักวิจัยยังหวังว่าข้าวสาลีที่ผ่านการแก้ไขยีนจะเข้าสู่มือของเกษตรกรได้เร็วขึ้น ด้วยการผ่านร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีพันธุกรรม (การปรับปรุงพันธุ์อย่างแม่นยำ – Precision Breeding) ที่รอดำเนินการผ่านรัฐสภา
ครับ คนไทยคงยังต้องรอต่อไปเมื่อรัฐบาลยังไม่สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมและการแก้ไขยีน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rothamsted.ac.uk/news/results-are-gene-edited-wheat-field-trial-delivers