เทคโนโลยีลูกผสม-การแก้ไขยีนด้วย CRISPR ทางเลือกใหม่ยุคที่สภาพภูมิอากาศเปลียนแปลง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การลงทุนของภาครัฐเพื่อพัฒนาพันธุ์พืชที่สามารถทนต่อ อุณหภูมิที่สูงขึ้น ความเครียดจากน้ำ และแมลงศัตรูพืชอยู่ในระดับที่ลดลง ในหลายประเทศที่เผชิญกับปัญหาความมั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรง เช่น เฮติหรือซูดานใต้ มีเกษตรกรประมาณร้อยละ 10 เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ ๆ ได้ ซึ่งหมายความว่าร้อยละ 90 ของเกษตรกรมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อนที่ต้นกล้าจะโผล่ออกมา

ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทำให้นักปรับปรุงพันธุ์พืชทำงานได้ดีขึ้นในทุกวันนี้ เพื่อสร้างแบบจำลองการคาดการณ์สภาพอากาศและพัฒนาพันธุ์พืชในกลุ่ม ธัญพืช พืชหัว และพืชผักหลากหลายชนิดที่สามารถปรับตัวให้ทันต่อสภาพการปลูกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ในทำนองเดียวกัน การแก้ไขจีโนมด้วย CRISPR ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเพิ่มคุณภาพทางโภชนาการของพืช ลดแรงกดดันในการผลิตอาหารโดยให้คุณค่าทางโภชนาการและสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นต่ออาหารหนึ่งหน่วย ความสามารถในการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของพืชผ่านเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุง จะเป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสามารถลดระดับโปรตีน ธาตุเหล็ก และสังกะสีในธัญพืชได้ถึงร้อยละ 10

ด้วยเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนา หลายประเทศจึงต้องการระบบเมล็ดพันธุ์ที่มีความคล่องตัว สม่ำเสมอ และใช้งานได้ทั่วพรมแดน เพื่อให้แน่ใจว่าเมล็ดพันธุ์ที่ทนทานต่อสภาพอากาศจะไปถึงมือเกษตรกรที่ต้องการ

ครับ สรุปเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือว่า เมล็ดพันธุ์ที่พัฒนาแล้วด้วยเทคโนโลยีลูกผสมและการแก้ไขยีนจะช่วยแก้ปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.devex.com/news/opinion-food-security-in-a-climate-crisis-must-start-with-seeds-104691