กาแฟที่สังเคราะห์ เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง ผลิตภัณฑ์จากนมที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ ทางเลือกใหม่ในยุคสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

Cellular agriculture (เกษตรกรรมที่สร้างเนื้อสัตว์จากเซลล์) มุ่งมั่นที่จะผลิตอาหารทางการเกษตร โดยใช้การผสมผสานของชีววิทยาสังเคราะห์ เทคโนโลยีชีวภาพ ชีววิทยาระดับโมเลกุล และวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (tissue engineering) ซึ่งมีสมมติฐานว่ากระบวนการผลิตเหล่านี้ อาจเป็นทางออกในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการทำฟาร์มปศุสัตว์หรือการทำเกษตรแบบเข้มข้น

กล่าวโดยสรุป จุดประสงค์ของ Cellular agriculture คือ การวิจัยวิธีการใหม่ ๆ ในการผลิตโปรตีน ไขมัน และเนื้อเยื่อ เพื่อทดแทนการผลิตโดยเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ปัจจุบันความพยายามส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การผลิตนม ไข่ และเนื้อสัตว์ (ผลิตภัณฑ์ที่ได้เรียกว่าอาหารสังเคราะห์) ซึ่งทำขึ้นจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ (cell culture)

เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง เป็นเนื้อสัตว์ที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ในหลอดทดลอง ผลิตขึ้นโดยใช้เทคนิคทางวิศวกรรมเนื้อเยื่อซึ่งมักใช้ในเวชภัณฑ์เพื่อการฟื้นฟู หวังว่าวิธีการผลิตนี้จะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตเนื้อสัตว์ ส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ และส่งผลดีต่อความปลอดภัยของอาหารและสุขภาพของผู้คน

ในปี 2564 สื่อได้รายงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กาแฟสังเคราะห์ชนิดแรกของโลก ซึ่งผลิตขึ้นโดยบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ 2 แห่ง จากมุมมองของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การผลิตกาแฟสังเคราะห์นี้ จะหมายถึงการใช้น้ำน้อยลง การปล่อยคาร์บอนน้อยลง และไม่ก่อให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า

ครับ ในกรณีที่การผลิตอาหารด้วยวิธีการปกติยังไม่สามารถลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ การผลิตด้วยวิธีการสังเคราะห์ จะได้รับการตอบรับที่ดีในอนาคต

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facileincucina.it/prima-pagina/agricoltura-cellulare-e-cibo-sintetico-cosa-sono-e-a-cosa-servono.htm?lang=EN