โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่กำลังเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรง เช่น เฮติหรือซูดานใต้ โดยมีเกษตรกรเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ซึ่งรวมถึงพันธุ์ที่ปรับปรุงแล้วจากภาคเอกชนที่เหมาะกับสภาวะอากาศที่รุนแรงและคาดเดาไม่ได้ในปัจจุบัน และยังมีเกษตรกรอีกหลายคนที่เลิกใช้พันธุ์ที่ปรับปรุงแล้ว เนื่องจากความเสี่ยงที่จะได้รับเมล็ดพันธุ์ปลอมซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นและต้องจ่ายค่าเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้นสำหรับพันธุ์ที่ปรับตัวต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
นักปรับปรุงพันธุ์พืชในปัจจุบันสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการปรับปรุงพันธุ์ได้ โดยการใช้เครื่องมือปรับปรุงพันธุ์ที่มีความแม่นยำสูงและทรงพลัง เช่น การแก้ไขจีโนม ซึ่งไม่เพียงเพิ่มความสามารถในการเลือกและพัฒนาลักษณะเฉพาะของพืช เช่น ทนความร้อน ทนความแห้งแล้ง และต้านทานต่อแมลงศัตรูและโรคพืชแล้ว แต่ยังลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อปกป้องผลผลิตและการดำรงชีวิตของเกษตรกร
มีหลายการศึกษาบ่งชี้ว่า teff (ธัญพืชโบราณที่มีเมล็ดขนาดเล็ก) ซึ่งเป็นธัญพืชหลักใน Ethiopia และ Eritrea ในปัจจุบัน ผลผลิตของ teff จะได้รับความเสียหายจากผลกระทบของสภาพอากาศ แต่พันธุ์ต้นเตี้ยที่พัฒนาผ่านการแก้ไขยีนจะช่วยลดความเสี่ยงจากการหักล้ม และเพิ่มผลผลิต
ครับ เป็นการยืนยันให้เห็นว่า การแก้ไขยีนในพืชสามารถพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อลดผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.europeanscientist.com/en/features/improved-seeds-allow-farmers-to-produce-more-without-additional-land-and-inputs-michael-keller-interview/