ความอดอยาก-การขาดสารอาหารที่น้อยลง คือ ประโยชน์อันล้ำค่าของพืชดัดแปลงพันธุกรรม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยสสุภาษิต

ส่งท้ายปี 2565 ต้อนรับปีใหม่ 2566 มีข่าวดีๆมาบอกด้วยข่าวนี้ นะครับ

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นักวิชาการได้วิเคราะห์ผลกระทบของผลผลิต หลังจากนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเพื่อประเมินประโยชน์และต้นทุนของเทคโนโลยี

ผลการศึกษาที่ได้รับนั้น มีข้อสรุปแทบจะเป็นสากลว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรมให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่การห้ามพืชดัดแปลงพันธุกรรม มีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพและโภชนาการของมนุษย์ นับตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษ (ช่วง 1,000 ปี) หลายประเทศเริ่มตัดสินใจเรื่อง ความมั่นคงทางอาหารมากขึ้นตามความสามารถทางการเกษตรของตนเอง และกำลังอนุญาตพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นอาหาร

การสร้างความมั่นคงด้านอาหารในอนาคตจะขึ้นอยู่กับการใช้ และ การนำเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมมาใช้ ซึ่งจะต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐบาล ประเทศอุตสาหกรรมจะได้รับผลผลิตที่สูงขึ้นและลดการใช้สารเคมีภายใต้การอนุญาตพืชดัดแปลงพันธุกรรมอย่างต่อเนื่อง ประโยชน์ที่ได้รับในประเทศที่ไม่มีความมั่นคงทางอาหารก็มีให้เห็นแล้ว ด้วยผลผลิตที่สูงขึ้นและความไม่มั่นคงทางอาหารที่ลดลง ซึ่งนับตั้งแต่การอนุญาตพืชดัดแปลงพันธุกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งนี้ยังไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับในประเด็นของการขาดสารอาหารและความอดอยากที่ลดลง ซึ่งเป็นประโยชน์อันประเมินค่ามิได้

ครับ น่าจะเป็นข่าวสารที่ควรนำไปพิจารณาสำหรับการกำหนดนโยบายการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.producer.com/opinion/rejecting-ag-technology-can-be-costly/