โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ประธานาธิบดีศรีลังกาประกาศว่า การนำเข้าปุ๋ยสังเคราะห์ถูกสั่งห้าม และจะไม่มีการจัดหาอีกเมื่อสต็อกหมด
ประสบการณ์ของศรีลังกาได้ให้ข้อมูลเชิงลึกบางประการในด้านนโยบายการพัฒนา และเมื่อพิจารณากรณีนี้ในแง่ของกรอบ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ จะพบว่าเมื่อรัฐบาลศรีลังกาพยายามพัฒนา UN SDG 13 (Climate Action) หรือ เร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเป้าหมายที่ 13 ของการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างกะทันหัน
ทำให้ส่งผลกระทบในทางลบต่อ SDG 8 (เป้าหมายที่ 8 มุ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ผ่านการยกระดับผลิตภาพแรงงานและการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการผลิต) ถึงขั้นวิกฤตเศรษฐกิจทั้งระบบในขณะนี้
กรอบเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Framework) ยังมีจุดบอดบางประการ ที่ป้องกันไม่ให้มีการดำเนินการตามนโยบายที่เป็นเป้าหมาย และขัดขวางการคาดการณ์ผลลัพธ์ของการดำเนินการเหล่านี้
บทเรียนที่สอง คือ การพัฒนาที่ยั่งยืนไม่สามารถทำได้หากนโยบายการพัฒนาไม่ได้รับการวิเคราะห์อย่างเหมาะสม ควบคู่กับทรัพยากรที่มีอยู่ การยกนโยบายที่ประสบความสำเร็จจากประเทศพัฒนาแล้วและปลูกฝังในประเทศกำลังพัฒนา โดยไม่ปรับแก้ตามข้อกำหนดของท้องถิ่นจะนำไปสู่ผลการต่อต้าน ดังที่เห็นได้ในศรีลังกา
ประเด็นสำคัญจากการล่มสลายของเกษตรอินทรีย์ในศรีลังกา คือ การให้บทเรียนอันมีค่าแก่ประเทศในเอเชียใต้อื่น ๆ เกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบายการพัฒนาในลักษณะที่มีบริบท มากกว่าการใช้วิธีการแบบเดียว
ครับ พอจะสรุปได้ว่าการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน จะต้องพิจารณาในบริบทที่หลากหลายและต้องสอดคล้องกับรัพยากรที่มีอยู่ มิฉะนั้นประเทศอาจประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศศรีลังกา
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://asiatimes.com/2022/10/revisiting-sri-lankas-abrupt-shift-to-organic-farming/