พลเมืองอียู 80% ปรับรู้ถึงความแตกต่างระหว่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม-พืชแก้ไขยีน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

พลเมืองยุโรป 4 ใน 5 คนตระหนักถึงความแตกต่างที่ลึกซึ้งระหว่างเทคนิคใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์ เช่น การแก้ไขยีน และ เทคนิคเก่า เช่น พันธุวิศวกรรมซึ่งเป็นผลจากการวิจัยที่เพิ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่มาจากการปรึกษาหารือสาธารณะ(public consultation) เกี่ยวกับกรอบการกำกับดูแลของเทคนิคใหม่ที่ใช้ในการแก้ไขจีโนม (ยีน)

Clara Fossato ในนามของ “Food for the Mind” ซึ่งเป็นการแถลงการณ์เพื่อนวัตกรรมทางการเกษตรที่ลงนามโดยสมาคม 15 แห่งกล่าวว่า “ผลลัพธ์ที่ได้นี้แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของประชาชน มีความยินดีที่จะสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกฎหมายว่าด้วย เทคนิคใหม่ ๆ ในการปรับปรุงพันธุ์”

Fossato กล่าวเพิ่มเติมว่า จากห่วงโซ่อุปทานอาหารทางการเกษตร ได้ขอให้เปิดการทดลองในสภาพแปลงเปิดของพืชที่ได้มาจากเทคนิดการแก้ไขยีนโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งจะช่วยจัดการกับวิกฤตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความท้าทายด้านความยั่งยืน และการผลิตที่ยังขาดแคลนในประเทศของเรา”

การร้องขอนี้ได้ถูกส่งผ่านไปยังกรรมาธิการด้านสุขภาพ Stella Kyriakidesผู้ซึ่งสัญญาว่าสหภาพยุโรป จะต้องเริ่มต้นแก้ไขกฎหมาย Directive 18/2001 ที่เกี่ยวกับการปลดปล่อยโดยเจตนาสู่สภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ภายในสิ้นปี 2565

ครับ รอดูต่อไปว่าจะแก้ไขได้หรือไม่ และจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากพืชแก้ไขยีนได้หรือไม่)

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://terraevita-edagricole-it.translate.goog/biotecnologie/le-tea-meritano-una-normativa-meno-penalizzante/?_x_tr_sl=auto&_x_tr_tl=en&_x_tr_hl=en&_x_tr_pto=wapp