โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
การบังคับให้ติดฉลากผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม (GMFood) ในยุโรปตะวันตกจะนำไปสู่การลดทางเลือก ต้นทุนอุตสาหกรรมอาหารที่สูงขึ้น รวมถึงราคาที่ผู้บริโภคจะต้องจ่ายสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการศึกษาของ PG Economics ที่รายงานโดย Graham Brookes นักเศรษฐศาสตร์เกษตร
ผู้สนับสนุนการบังคับให้ติดฉลากอาหารที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม ได้มีโต้แย้งกันมานานแล้วว่าเหตุผลหลักของการติดฉลาก คือการแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงสิ่งที่ผู้บริโภคซื้อและกิน อย่างไรก็ตาม ด้วยหลักฐานกว่า 20 ปีจากประเทศและภูมิภาคที่มีการบังคับให้ติดฉลาก
แสดงให้เห็นว่าเป็นนโยบายที่ล้มเหลวและนำไปสู่ผลกระทบด้านลบต่อตลาด ในทางตรงกันข้าม ผู้บริโภคและผู้เสียภาษีจะมีทางเลือกด้านอาหารมากขึ้นโดยมีต้นทุนที่ต่ำกว่าในพื้นที่ที่การติดฉลากเป็นไปโดยสมัครใจ
Graham Brookes กล่าวว่า “ความคิดริเริ่มในการติดฉลากด้วยความสมัครใจสามารถนำเสนอทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้รับข้อมูลมากขึ้นด้วยต้นทุนสุทธิที่ต่ำลงสู่สังคม ผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกไม่ควรทำผิดซ้ำเมื่อพิจารณาถึงประเด็นเรื่องการติดฉลากอาหารที่มาจากการแก้ไขยีน”
ครับ การติดฉลากเป็นไปโดยสมัครใจน่าจะดีกว่าการบังคับในกรณีของอาหารที่มาจากการแก้ไขยีน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://pgeconomics.co.uk/pdf/LABELLINGIMPACTSEPT2022NOTEPGwebsite.pdf