โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ผู้เชี่ยวชาญจาก Key Gene, Wageningen University & Research ในประเทศเนเธอร์แลนด์ และ Leibniz Institute of Plant Biochemistry ได้พัฒนาพืชชิกโครี (Chicory หรือ Cichorium Intybus ซุ้งเป็นพืชสมุนไพรในแถบอเมริกาและยุโรปที่นิยมไปทำยารักษาโรคและยาบำรุง) ที่มี costunolideในระดับสูง ซึ่งเป็น metabolite (สารในกระบวนการสร้างและสลาย) จากพืชที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง การค้นพบนี้ได้ถูกรายงานในวารสารFrontier in Plant Science
สาร Costunolide ถูกพบครั้งแรกใน Saussureacostus(สมุนไพรโกฐกระดูก มีชื่อเรียกอื่นว่า บักเฮียง (จีนแต้จิ๋ว) มู่เซียง (จีนกลาง) เป็นต้น จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน) ซึ่งเป็นพืชป่าที่อาศัยอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยและปัจจุบันมีปลูกในอินเดีย แต่ให้ผลผลิตต่ำ และยังพบ Costunolideในชิกโครี แต่มีในระดับต่ำเพราะทำหน้าที่เป็นสารตัวกลางเท่านั้นซึ่งผลิตอยู่ในรากแก้วจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสารที่มีรสขมอย่างรวดเร็ว
นักวิจัยได้ใช้เทคโนโลยี CRISPR-Cas9 ในการสกัดกั้นกระบวนการเปลี่ยน costunolide ให้เป็น metabolites อื่น ๆ ซึ่งนำไปสู่การสะสมของสารประกอบทางการแพทย์(costunolide)ในรากแก้วของพืชซิกโครี
ครับ เป็นอีกหนึ่งศักยภาพของเทคโนโลยีการแก้ไขยีน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.keygene.com/news-events/genome-editing-successfully-used-to-induce-chicory-plants-to-accumulate-important-medical-compound/