ผู้เชี่ยวชาญผลักดันเกษตรอินทรีย์-แก้ไขจีโนมไปด้วยกันเพื่อความมั่นคงด้านอาหารที่ยั่งยืน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ในการแข่งขันกับเวลาเพื่อเลี้ยงดูประชากรโลกที่กำลังเติบโต จำเป็นต้องใช้ทางเลือกที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อบรรลุความยั่งยืนทางการเกษตร ผู้เชี่ยวชาญจากบราซิลและอาร์เจนตินาเสนอให้ใช้เกษตรอินทรีย์และการแก้ไขจีโนมในพืชควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร

เกษตรอินทรีย์และเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรมักถูกมองว่ายืนอยู่คนละฝั่ง ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยเชื่อว่าระบบการเกษตรทั้งสองระบบเข้ากันไม่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกรอบทางกฎหมายของเกษตรอินทรีย์เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมรวมเข้ากับระบบการผลิต แม้ว่าจะมีประโยชน์ก็ตาม

แต่การเกิดขึ้นของเครื่องมือแก้ไขยีนอย่าง CRISPR ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตรอินทรีย์สามารถเป็นพันธมิตรกันเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้บริโภค โดยให้ความเห็นว่า การกลายพันธุ์อาจเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติหรือทำได้โดยผ่านกระบวนการคัดเลือกทางพันธุกรรมที่ยาวนาน

เทคโนโลยี CRISPR-Cas9 จัดเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาได้รวดเร็วและควบคุมได้ในการชักนำให้มีคุณสมบัติที่สำคัญในการพัฒนาพันธุ์พืชโดยไม่ต้องถ่ายฝากยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น ทำให้พันธุ์พืชที่ถูกพัฒนามีความปลอดภัยอย่างยั่งยืน และยังเน้นว่าอาหารที่ได้มาจากการแก้ไขยีนต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนอาหารทั่วไป และควรพิจารณาจากคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์แทนที่จะพิจารณาจากกระบวนการทำ

ทั้งนี้เทคโนโลยี CRISPR สามารถช่วยเชื่อมโยงเกษตรอินทรีย์และเทคโนโลยีชีวภาพเข้าด้วยกัน การเป็นหุ้นส่วนเป็นพื้นฐานสำหรับการบรรเทาความไม่มั่นคงด้านอาหาร และการปฏิเสธประโยชน์ของการแก้ไขจีโนมของเกษตรกรอินทรีย์และเกษตรกรรายย่อยที่ทำเกษตรอินทรีย์ จะเป็นโศกนาฏกรรมในสัดส่วนที่ใหญ่โต

ครับ ฝากให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยพิจารณา

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fbioe.2022.912793/full