นักวิจัยค้นพบโปรตีนที่เปลี่ยนพืชให้มีต้นแคระแกร็น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจาก Kiel University ในประเทศเยอรมันนี นำโดยศาสตราจารย์ Frank Kempken ได้ระบุองค์ประกอบใหม่ของโปรตีน PPR (pentatricopeptide repeat protein)จากพืช ซึ่งก่อนหน้านี้คิดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ mRNA ในไมโตคอนเดรีย

โปรตีนชนิดใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของไรโบโซม ในไมโตคอนเดรียและเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน แม้ว่าจะยังไม่ทราบกลไกที่แน่นอน แต่นักวิจัยพบว่า โปรตีนนี้อาจขัดขวางการเจริญเติบโตของพืชโดยนักวิจัยสังเกตเห็นว่า เมื่อทำให้หยุดทำงานใน Arabidopsis (พืชที่ใช้เป็นต้นแบบในการศึกษา) พืชจะแสดงการเจริญเติบโตที่ล่าช้าและแคระแกร็นในขณะที่พืชนั้นยังคงทำหน้าที่ได้อย่างปกติ

โปรตีน PPR ถูกเข้ารหัสโดยยีนในนิวเคลียสของเซลล์และถ่ายโอนไปยังไรโบโซม ด้วย mRNA และแปลเป็นโปรตีน จากนั้น โปรตีน PPR ที่สังเคราะห์ได้จะถูกส่งไปยังไมโตคอนเดรีย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมกระบวนการต่างๆ ของชีวิต

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิจัยได้พบว่าโปรตีนกลุ่มย่อย rPPR เกิดขึ้นที่ไรโบโซมในไมโตคอนเดรีย และเพื่อให้เข้าใจถึงการควบคุมข้อมูลทางพันธุกรรมในพืชได้ดียิ่งขึ้น นักวิจัยของมหาวิทยาลัย Kiel ได้วิเคราะห์โปรตีน rPPR ของไมโตคอนเดรีย เฉพาะที่พบได้ทั่วไป จะถูกควบคุมโดยยีน DWEORG1

นักวิจัยพบว่าเมื่อทำให้ยีน DWEORG1 หยุดทำงาน การแปลเป็นโปรตีนก็ลดลง อย่างไรก็ตามยีน DWEORG1 ดูเหมือนจะไม่มีบทบาทพื้นฐานในสิ่งมีชีวิต เนื่องจากพืชดังกล่าวแสดงแต่เพียงชะลอการเจริญเติบโตเท่านั้นและทำให้มีขนาดเล็กลงโดยรวม แต่รูปร่างและกระบวนการมีชีวิตไม่ได้รับผลกระทบ

ครับ สรุปง่าย ๆ คือ นักวิจัยได้พบว่า ยีน DWEORG1 หยุดสร้างโปรตีนr PPR จะทำห้พืชแคระแกร็น แต่กระบวนการต่าง ๆ ของการมีชีวิตไม่เปลี่ยนแปลง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.uni-kiel.de/en/details/news/121-gruettner-scireps