พบยีน Tricoderma ต้านทานโรคกาบใบแห้งของข้าว

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกษตรแห่งปัญจาบ (Punjab Agricultural University)ในอินเดีย ได้พัฒนาข้าวที่ต้านทานโรคกาบใบแห้ง โดยใช้ยีนต้านเชื้อราจากเชื้อราไตรโคเดอร์มา ผลการวิจัยนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารTransgenic Research

โรคกาบใบแห้งเกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solaniเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดต่อการผลิตข้าวซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ50 ของการสูญเสียผลผลิต เชื้อโรคจะเข้าทำลายใบและกาบใบทำให้พืชตายได้ ปัจจุบันยังไม่พบยีนต้านทานโรคที่สำคัญนี้ สิ่งนี้ทำให้นักวิจัยค้นหาวิธีที่จะสร้างความต้านทานโรคกาบใบของข้าว

พันธุ์ข้าวดัดแปลงพันธุกรรมที่เป็นข้าวประเภทindica (ข้าวเจ้าที่มีลักษณะเมล็ดเรียวยาวรี ลำต้นสูง) และ japonica (ข้าวเหนียวที่มีเมล็ดป้อมกลมรี)ได้รับการพัฒนาโดยการถ่ายฝากยีนต้านเชื้อรา β-1,3-glucanase ที่ได้มาจาก Trichoderma

การแสดงออกของยีนที่ถ่ายฝากดังกล่าวอยู่ในระดับสูงถึง 5 เท่า พืชที่มีการแสดงออกของ β-1,3-glucanase ในระดับสูงมีความต้านทานปานกลางต่อเชื้อโรค และความรุนแรงของโรคยังลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ข้าวที่ไม่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม

จากผลการศึกษาพบว่า β-1,3-glucanase มีบทบาทในการต้านทานโรคกาบใบแห้งในข้าว

ครับ ยังยืนให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพันธุวิศวกรรมและการแก้ไขยีน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://link.springer.com/article/10.1007/s11248-022-00318-6