งานวิจัยพบผู้บริโภคยังขาดความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านผลิตอาหารและการเกษตร

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภษาต

อาหารของเราเป็นธรรมชาติแค่ไหน และ ‘ธรรมชาติ’ หมายถึงอะไร Science for Sustainable Agriculture (วิทยาศาสตร์เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน) ได้ถามคำถามสำคัญนี้กับผู้บริโภค เพื่อเข้าใจถึงการรับรู้ในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในด้านอาหารและการเกษตร โดยใช้แบบสำรวจที่ออกแบบและดำเนินการโดยหน่วยงานวิจัยผู้บริโภคที่ชื่อว่า England Marketing Ltd.

สิ่งที่พบจากการสำรวจ คือ

-ผู้บริโภคคิดว่า ตนเองมีความรู้ดีเกี่ยวกับความหมายของ “ธรรมชาติ” และ “ยั่งยืน” ในเรื่องของการผลิตอาหาร อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ทราบอย่างชัดเจนถึงระดับของการใช้วิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนการผลิตและส่วนผสมพื้นฐาน ซึ่งพวกเขาคิดว่าไม่ได้เกิดจากการแทรกแซงของมนุษย์

– ผู้บริโภคส่วนน้อยทราบว่าพืชอาหารที่ปลูกอยู่ทั่วไปในอังกฤษไม่ใช่พืชพื้นเมืองของประเทศ ส่วนใหญ่คิดว่า พืชอาหาร เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ชูการ์บีต และมันฝรั่ง มีถิ่นกำเนิดในอังกฤษ แต่ในความเป็นจริง พืชเหล่านี้มาจากส่วนต่างๆ ของโลก

– ผู้ตอบแบบสอบถามหลายคน กล่าวว่าพวกเขา “ถูกปิดบังโดยวิทยาศาสตร์” ในแง่ของนวัตกรรมอาหารและการเกษตร เนื่องจากมีการใช้คำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิคขั้นสูง และการขาดข้อมูลที่เข้าถึงได้เกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าว

– ความไว้วางใจเป็นองค์ประกอบสำคัญในการยอมรับนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของผู้บริโภค มีเพียงร้อยละ11 เท่านั้นที่ไว้วางใจรัฐบาลในฐานะผู้ให้ข้อมูล ส่วนเกษตรกรและภาคเอกชน/นักวิทยาศาสตร์ด้านวิชาการมีความน่าเชื่อถือมากกว่า โดยผู้บริโภคร้อยละ 68 และ 59 ตามลำดับอ้างว่าพวกเขาไว้วางใจทั้ง 2 กลุ่มนี้ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้วิทยาศาสตร์ในการเกษตรและการผลิตอาหาร

Graham Brookes นักเศรษฐศาสตร์เกษตร ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มที่ปรึกษา Science for Sustainable Agriculture การศึกษาได้เน้นย้ำถึงความบกพร่องในความรู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดที่แท้จริงของพืชอาหารทั่วไปหลายชนิดและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่ถูกนำมาใช้ในสหราชอาณาจักร

Graham Brookes กล่าวว่า “สิ่งนี้ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความถูกต้องของการอภิปรายในที่ประชุมชน (public discussions) ในปัจจุบันเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เช่น การปรับปรุงพันธุ์ที่แม่นยำ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ดูเหมือนจะไม่ทราบถึงระดับของการใช้วิทยาศาสตร์ในการพัฒนาอาหารที่บริโภคอยู่เป็นประจำวัน

ครับ ผลงานวิจัยนี้อาจชี้ให้เห็นว่า ข่าวสารที่ใช้ในการอภิปรายในที่ประชุมชนอาจยังไม่ตรงประเด็นซึ่งรวมถึงที่มาของผู้ให้ข้อมูล

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scienceforsustainableagriculture.com/_files/ugd/f77b24_661d06e8d20140159c07d57b3f627ff8.pdf