เทคโนโลยีพันธุกรรม ตอบโจทย์ที่ทำให้พืชสู้กับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงได้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ระบบอาหารของโลกนอกจากเพื่อเลี้ยงประชากรโลกแล้วยังมีส่วนอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่ง Kevin Doxzen จาก World Economic Forum (WEF) ได้ตอบคำถามที่ว่า “พืชดัดแปลงพันธุกรรมสามารถต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างไร”

พันธุวิศวกรรมเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการพัฒนาพันธุ์พืชให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พันธุ์ข้าว ข้าวโพด และข้าวสาลีได้ผ่านการปรับปรุงและพัฒนาให้ทนทานต่อช่วงฤดูแล้งที่ยาวนานและฤดูมรสุมที่เปียกชื้น อุณหภูมิที่สูงเกินไปทำให้เกิดเชื้อราและแมลงศัตรูพืชมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ ผู้เชี่ยวชาญจึงใช้เทคโนโลยี การแก้ไขยีนในการพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง มันฝรั่ง และโกโก้ ให้ต้านทานโรค นอกเหนือจากความพยายามเหล่านี้แล้ว มีการใช้เทคโนโลยีการแก้ไขยีนให้พืชสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อการบรรเทาผลกระทบอีกด้วย

โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพืชแก้ไขยีนที่คาดว่าจะช่วยต่อสู้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมนี้ คือ สถาบันจีโนมเชิงนวัตกรรม (Innovative Genomics Institute) ใช้ CRISPR เพื่อปรับปรุงความสามารถของพืชและจุลินทรีย์ในดินในการดักจับและกักเก็บคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศ

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของพืช ให้มีประสิทธิผลมากขึ้นร้อยละ 40 ซึ่งหมายถึงจะช่วยให้คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศน้อยลง

โครงการ Harnessing Plants Initiative (ริเริ่มควบคุมและใช้ประโยชน์พืช) ได้ออกแบบรากให้มีความแข็งแรง ใหญ่ขึ้น และลึกขึ้น ปรับปรุงความต้านทานต่อการย่อยสลาย ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอน

ครับ นับว่าเป็นความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยีการแก้ไขยีนเพื่อให้พืชมีส่วนช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

 อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.weforum.org/agenda/2022/07/engineered-crops-can-fight-climate-change/