บังกลาเทศจะอนุญาตฝ้ายบีทีที่ต้านทานแมลงศัตรูอย่างยั่งยืน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

บังกลาเทศมีแนวโน้มที่จะอนุญาตให้เพาะปลูกฝ้ายบีทีเชิงพาณิชย์ ที่มาจากบริษัท อินเดีย ในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ในประเทศได้เรียกร้องให้มีการอนุญาตตามกฎระเบียบ พันธุ์ฝ้ายบีทีที่ทนทานต่อสารกำจัดวัชพืชรุ่นใหม่ ซึ่งยังไม่ได้อยู่ในวาระการพิจารณาของคณะกรรมการประเมินผลพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering Appraisal Committee – GEAC)

Ram Kaundinya  ผู้อำนวยการทั่วไปของสหพันธ์อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์แห่งอินเดีย(Federation of Seed Industry for India) กล่าวว่า รัฐบาลบังกลาเทศต้องนำเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมสมัยใหม่มาใช้อย่างเร่งด่วนเพื่อลดต้นทุนสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูและต้นทุนแรงงานในการเพาะปลูกฝ้ายที่เพิ่มสูงขึ้น

Bhagirath Choudhary ผู้อำนวยการผู้ก่อตั้ง South Asia Biotechnology Center กล่าวว่า “ความชอบของบังคลาเทศเกี่ยวกับเทคโนโลยีบีทีของอินเดียในอดีตน่าจะเป็นการปลุกระดมให้กระทรวงสิ่งแวดล้อมประเมินการใช้งานเทคโนโลยีชีวภาพที่รอดำเนินการอย่างจริงจังและอำนวยความสะดวกในกระบวนการอนุญาตเทคโนโลยีบีทีรุ่นต่อไป”

นับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อ2 ทศวรรษที่แล้ว ฝ้ายบีทีทำให้ผลผลิตฝ้ายของอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีผลผลิตฝ้ายเพิ่มขึ้นจาก 8.62 ล้านbale (น้ำหนัก 170 กิโลกรัมต่อ bale) ในปี 2545-2546 เป็น 34.04 ล้าน bale ในปี 2564-2565

เมื่อนำมาใช้ในการเพาะปลูกเชิงพาณิชย์แล้ว ฝ้ายบีทีจะเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมชนิดที่ 2 ของบังคลาเทศ ต่อจากมะเขือม่วงบีที ที่ได้รับการอนุญาตในปี 2556 ในรายงานระบุว่าด้วยการนำฝ้ายบีทีที่ให้ผลผลิตสูงและต้านทานต่อศัตรูพืชตั้งแต่ปี 2545 อินเดียได้เปลี่ยนจากการนำเข้าฝ้าย เป็นประเทศผู้ส่งออก

“โดยในช่วง2 ทศวรรษที่ผ่านมา อินเดียได้กลายเป็นผู้ส่งออกฝ้ายอันดับหนึ่งของโลก และบังกลาเทศได้นำเข้าฝ้ายซึ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติในปริมาณที่มากเป็นอันดับ 3 จากปริมาณนำเข้าเส้นใยธรรมชาติทั้งหมด”

ครับ คงไม่นานเกินรอเกษตรกรบังกลาเทศคงจะได้ปลูกฝ้ายบีที แต่สำหรับประเทศไทยคงจะต้องนำเข้าฝ้ายต่อไป

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.financialexpress.com/market/commodities/dhakas-nod-likely-for-indian-firms-bt-cotton/2568553/