มะเขือเทศแก้ไขยีน พบว่าให้ผลิตวิตามินดีเพิ่มมากขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิทยาศาสตร์ของ John Innes Center (JIC) ใช้ CRISPR-Cas9 เพื่อปิดการทำงานของยีนในต้นมะเขือเทศและเพิ่มความเข้มข้นของโปรวิตามิน D3 (สารตั้งต้นของวิตามินดี) ในผลไม้และใบ ซึ่งจะเป็นวิธีแก้ปัญหาง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ทุกข์ทรมานจากภาวะขาดวิตามินดีทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Plants

วิตามินดีจะถูกสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติในร่างกายมนุษย์หลังจากที่ผิวหนังได้รับแสง UVB จากดวงอาทิตย์ ดังนั้นจึงเรียกอีกอย่างว่าวิตามินจากแสงแดด อย่างไรก็ตาม แหล่งสำคัญของสารตั้งต้นของวิตามินดีคืออาหาร และการขาดวิตามินดีนั้นเชื่อมโยงกับความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของการติดเชื้อ COVID-19 ความเสี่ยงที่สูงขึ้นของโรคมะเร็ง ภาวะสมองเสื่อม และโรคอื่นๆ อีกหลายโรค

ดังนั้น นักวิจัยของ JIC จึงมุ่งที่จะเพิ่มโปรวิตามินดี 3 ในต้นมะเขือเทศ เพื่อใช้เป็นอาหารเสริมวิตามินดี 3 จากพืชนั่นเอง

ทีมวิจัยใช้ CRISPR-Cas9 ในการปิดการทำงานของเอนไซม์ Sl7-DR2 เพื่อให้สามารถสะสมโปรวิตามิน D3 ที่เรียกว่า 7-dehydrocholesterol (7DHC) ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขึ้นอย่างมากของโปรวิตามิน D3 ในใบและผลไม้ของพืชที่แก้ไขยีน

พืชที่แก้ไขยีนแล้วเมื่อได้รับแสง UVB, 7DHC ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินดี และ การตากมะเขือเทศที่แก้ไขยีนจะช่วยทำให้ปริมาณวิตามินดีเพิ่มขึ้นได้อีก

ครับ สำหรับคนที่ติดเชื้อโควิด 19 จะมีคำแนะนำให้ทานวิตามินดีร่วมด้วยในการรักษา

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.jic.ac.uk/press-release/gene-edited-tomatoes-could-be-a-new-source-of-vitamin-d/