การพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมหนึ่งชนิดกว่าจะออกสู่ตลาดมีต้นทุน 116 ล้านดอลลาร์ ใช้เวลา 16.5 ปี

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

เกษตรกรต้องผลิตอาหารมากขึ้นจากทรัพยากรที่น้อยลงและภายใต้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแต่ละปี เกษตรกรหลายล้านคนทั่วโลกที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม จะได้ผลผลิตที่สูงขึ้น คุณภาพพืชผลที่ดีขึ้น และใช้วิธีการเกษตรแบบยั่งยืน เช่น การไม่ไถพรวน แต่การพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่เป็นนวัตกรรมใหม่นี้จากห้องปฎิบัติการไปสู่แปลงเพาะปลูกนั้นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลจากผู้พัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรม

ข่าวดีก็คือ ค่าใช้จ่ายในการค้นพบ พัฒนา และอนุญาตพืชดัดแปลงพันธุกรรมลดลง 21 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่เวลาที่ใช้ในการพัฒนาจนออกสู่ตลาดได้เพิ่มขึ้นจาก 13.1 ปีเป็น 16.5 ปี

จากรายงานการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ขณะนี้กรอบการกำกับดูแลมีความสอดคล้องกันมากขึ้นทั่วโลกสำหรับการดูแลพืชดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งจะช่วยส่งเสริมนวัตกรรมและช่วยเหลือเกษตรกรและผู้บริโภคในท้ายที่สุด

ผลการศึกษาที่สำคัญ คือระยะเวลาในการกำกับดูแล เป็นระยะเวลาที่ยาวที่สุดคิดเป็นร้อยละ 51.1 ของเวลาทั้งหมดที่ใช้โดยรวม และคิดเป็นร้อยละ 37.6 ของต้นทุนทั้งหมดในเชิงพาณิชย์ ซึ่งทำให้สูญเสียรายได้เชิงพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นอีก 40 เดือน สำหรับนักพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรม

ครับ การลงทุนพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรมหนึ่งชนิดจนออกสู่ตลาดจะลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา แต่ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นจากประมาณ 13 ปี เป็น 16 ปี ที่เพิ่มขึ้นน่าจะเป็นระยะเวลาการกำกับดูแลที่คิดเป็นร้อยละ 51.1 ของเวลาทั้งหมดและคิดเป็นร้อยละ 37.6 ของเงินลงทุนทั้งหมด ทำให้นักพัฒนาผลิตภัณฑ์สูญเสียรายได้เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นอีก 40 เดือน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://croplife.org/plant-biotechnology/regulatory-2/cost-of-bringing-a-biotech-crop-to-market/