ระบบอาหารที่ยั่งยืนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ได้ฟังสัมมนาออนไลน์ เรื่อง ระบบอาหารที่ยั่งยืนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้และภายหลังโควิด 19: ความชัดเจนในนโยบายและการเรียกร้องให้ดำเนินการ (Sustainable Food System in South East Asia Under and Beyond Covid – 19: Policy Evidence and Call for Action) จากวิทยากรที่เชิญมาให้พูดถึงประเด็นหลัก ๆ ในเรื่องนี้ คือ Dr. Shenggen Fan ซึ่งมีตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายอาหารระหว่างประเทศ (International Food Policy Research Institute) ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้

ทำไมจะต้องให้ความสนใจกับระบบอาหารที่ยั่งยืน Dr. Shenggen Fan ได้ยกประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ได้แก่ ประชากรจำนวนประมาณ 75 ล้านคนในเอซียอยู่ในสภาวะหิวโหย (ขาดอาหาร)เด็กขาดอาหารที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกาและเอเซียการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จากการตัดไม้ทำลายป่า การเกิดการระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งลดการขนส่ง ลดการจ้างงาน และการเกิดสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้ราคาปุ๋ย น้ำมันและก๊าซ รวมถึงผลผลิตสูงขึ้น ปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาทำให้ระบบอาหารของโลกเลวร้ายลง

สิ่งที่ต้องทำคือ การเปลี่ยนแปลงระบบอาหารให้มีความยั่งยืน โดยการทำงานร่วมกันใน 5 ระบบหลัก ๆ คือ ระบบการผลิต เพื่อลดช่องว่างของผลผลิต ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ลดการสูญเสียอาหารและขยะจากเศษอาหาร และยกเลิกการค้าที่เบี่ยงเบนระบบโภชนาการ เพื่อให้มีความสามารถในการเข้าถึงและจับจ่าย มีอาหารที่ปลอดภัย มีการกำกับดูแลและเก็บภาษี มีการกระตุ้นการบริโภคระบบการมีส่วนร่วม เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อคนจน โดยไม่แยกเพศ ศาสนา และวัยระบบที่มีความยืดหยุ่น เพื่อยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรับตัวได้ในสภาวะซ๊อคทางเศรษฐกิจมหาภาคและสุขภาพ ระบบที่ยั่งยืน เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รักษาสุขภาพน้ำและดิน

กลยุทธ์หนึ่งที่Dr. Shenggen Fan เน้นในระบบที่ยั่งยืน คือการเกษตรแบบที่เรียกว่า Circular Agriculture คือการเกษตรที่มุ่งเน้นการใช้ปัจจัยภายนอกให้น้อยที่สุด ใช้ธาตุอาหารแบบหมุนเวียน ปรับปรุงดิน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ Regenerative Agriculture คือการเกษตรที่เน้นเรื่องการเชื่อมต่อของระบบเกษตรและระบบนิเวศให้เป็นหนึ่งเดียวกันซึ่งเป็นกลยุทธ์ ที่ตอบสนองต่อระบบการผลิต ระบบโภชนาการ และรบบที่มีความยืดหยุ่นด้วยเช่นกัน

ข้อสังเกตุ Dr. Shenggen Fan ไม่ได้คำนึงถึงปัญหาการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก ที่นำมาสู่ความต้องการการบริโภคอาหารที่เพิ่มขึ้น จึงไม่ได้เน้นการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การแก้ไขยีน อย่างชัดเจน