ปลูกพืชในดินจากดวงจันทร์

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งสำคัญจากการสำรวจดวงจันทร์และอวกาศ นั่นคือความสำเร็จในการปลูกพืชในดินที่เก็บรวบรวมจากดวงจันทร์ในระหว่างภารกิจอะพอลโล 11, 12 และ 17

Rob Ferl และ Anna-Lisa Paul ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา ได้แสดงให้เห็นว่า พืชสามารถงอกและเจริญเติบโตได้สำเร็จในดินจากดวงจันทร์ และยังได้ศึกษาว่า พืชมีการตอบสนองทางชีววิทยาต่อดินจากดวงจันทร์หรือชั้นผิวดินของดวงจันทร์ (lunar regolith) แตกต่างจากดินบนพื้นโลกอย่างสิ้นเชิง

งานนี้ถือเป็นก้าวแรกสู่การปลูกพืชเพื่อผลิตอาหารและออกซิเจนบนดวงจันทร์หรือระหว่างปฏิบัติภารกิจในอวกาศ การวิจัยนี้เกิดขึ้นในขณะที่โครงการ Artemis วางแผนที่จะส่งมนุษย์กลับคืนสู่ดวงจันทร์

Ferlและ Paul ออกแบบการทดลองง่ายๆ อย่างไม่น่าเชื่อ โดยปลูกเมล็ดพืชในดินจากดวงจันทร์ เติมน้ำ ธาตุอาหาร และแสงสว่าง และบันทึกผล แต่ที่ซับซ้อนหน่อยเป็นเพราะนักวิทยาศาสตร์มีดินจากดวงจันทร์เพียง 12 กรัม – เพียงไม่กี่ช้อนชา – เพื่อทำการทดลอง

นักวิทยาศาสตร์ใช้เงินที่กู้จาก NASA ถึง 3 ครั้งในช่วง 11 ปีที่ผ่านมาเพื่อโอกาสในการทำงานกับชั้นผิวดินของดวงจันทร์ ทีมวิจัยได้ใช้บ่อ(หลุม) ขนาดเท่าปลอกมือในแผ่นพลาสติกที่ปกติใช้ในการเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่อปลูกพืชในดินจากดวงจันทร์ แต่ละหลุมจะมีดินบนดวงจันทร์ประมาณ 1 กรัมที่ใส่สารละลายธาตุอาหาร และปลูกด้วยเมล็ด Arabidopsis (พืชต้นแบบที่ใช้ในการทดลอง) 2 – 3 เมล็ด ก่อนการทดลองนักวิจัยไม่แน่ใจว่าเมล็ดที่ปลูกในดินจากดวงจันทร์จะงอกหรือไม่ แต่ก็งอกเกือบทั้งหมด

นักวิจัยสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างพืชที่ปลูกในดินจากดวงจันทร์กับดินปกติที่ใช้เปรียบเทียบ พืชบางต้นที่ปลูกในดินจากดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่า โตช้ากว่า หรือมีขนาดที่แตกต่างกันมากกว่าต้นพืชชนิดเดียวกันที่ใช้เปรียบเทียบ

การตอบสนองของพืชต่อดินจากดวงจันทร์อาจเชื่อมโยงกับจุดที่รวบรวมดิน และพบว่าพืชที่แสดงอาการเครียดมากที่สุดคือพืชที่ปลูกในสิ่งที่นักธรณีวิทยาทางดวงจันทรเรียกว่าmature lunar soilซึ่งเป็นดินที่ได้สัมผัสกับลมจักรวาล(cosmic wind)มากขึ้น ซึ่งทำให้มีองค์ประกอบเปลี่ยนไป ในทางกลับกัน พืชที่ปลูกในดินที่ได้สัมผัสกับลมจักรวาลน้อยกว่าจะมีอาการดีขึ้น

ครับ อีกไม่นานมนุษย์จะสามารถเพาะปลูกได้บนดวงจันทร์ คงอยู่ไม่ถึง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.ufl.edu/2022/05/lunar-plants/