โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
เทคนิคสมัยใหม่ที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยทั่วไปจะเรียกว่าการดัดแปลงพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม ด้วยเทคโนโลยีนี้ ยีนที่กำหนดรหัส (ที่ควบคุม) คุณลักษณะเฉพาะจะถูกถ่ายฝากไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นที่ต้องการคุณลักษณะนั้น ยกตัวอย่างเช่น ยีนที่ป้องกันแมลงศัตรูที่มาจากจุลินทรีย์ดินสามารถถ่ายฝากไปยังต้นข้าวโพด เพื่อทำให้ต้นข้าวโพดนั้นต้านทานแมลงศัตรูได้
นักวิจัยยังคงค้นหาวิธีที่ดีกว่า ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อความมั่นคงทางอาหาร จนเกิดนวัตกรรมใหม่ที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช เทคนิคล่าสุดที่นักวิทยาศาสตร์ด้านพืชนำมาใช้เรียกว่า “การแก้ไขยีน” ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายในดีเอ็นเอ(DNA คือ สารพันธุกรรม) ของสิ่งมีชีวิตที่มีความแม่นยำ รวดเร็ว และถูกกว่าเมื่อเทียบกับเทคนิคพันธุวิศวกรรม โดยยีนของพืชจะถูกทำให้หยุดการทำงาน หรือเปิดการทำงานเพื่อปรับปรุงลักษณะเฉพาะโดยไม่จำเป็นต้องถ่ายฝากยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น
นักวิทยาศาสตร์มักอธิบาย โดยเปรียบเทียบเหมือนกับการแก้ไขคำในไฟล์เอกสารในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนบางส่วนของเอกสารนั้นได้ โดยการค้นหาคำหรือวลีที่ต้องการ จากนั้นทำการลบคำนั้น แล้วแทนที่ด้วยคำที่ดีกว่า หรือเพิ่มคำอื่นเพื่อให้เอกสารนั้นน่าอ่านมากขึ้น
ครับ คงจะพอมองเห็นความแตกต่างระหว่างเทคนิคพันธุวิศวกรรม ที่มีการถ่ายฝากยีนจากสิ่งมีชีวิดอื่น ในขณะที่เทคนิคการแก้ไขยีน เป็นการแก้ไขยีนตรงเฉพาะจุดโดยการลบหรือเพิ่ม โดยไม่ได้มีการถ่ายฝากยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.isaaa.org/blog/entry/default.asp?BlogDate=5/4/2022