บทพิสูจน์ในมาลาลีเกษตรกรปลูกฝ้ายบีที ต้านทานแมลงได้ผลผลิตเพิ่ม 100 %

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Commission for Science and Technology – NCST) กล่าวว่า ฝ้ายบีทีซึ่งเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมทำให้ผลผลิตฝ้ายของเกษตรกรเพิ่มขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์

Lyson Kampira หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการวิจัยของ NCST กล่าวว่า นับตั้งแต่มีการนำฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้ ผลผลิตที่เกษตรกรได้รับเพิ่มขึ้นเป็น 800 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์จากเดิม400 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมาก

“เทคโนโลยีชีวภาพด้านฝ้ายเริ่มมีการวิจัยตั้งแต่ปี 2555 และในวันนี้ขณะที่เราพูดถึงฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพได้เข้าถึงเกษตรกรในมาลาวีแล้ว ดังนั้นผลผลิตจึงเพิ่มขึ้นจาก 400 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์เป็น 800 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์”

เขา บอกด้วยว่า ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมถูกนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิตด้วยการลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากมีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืชบางชนิด ในขณะเดียวกันก็ผลิตเส้นใยฝ้ายมากขึ้น นั่นหมายถึงทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น

“ความท้าทายที่การเกษตรต้องเผชิญ ได้แก่ แมลงศัตรูโรค และวัชพืช และแม้กระทั่งปัญหาที่เกี่ยวกับดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินก็เป็นปัญหา มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาตั้งแต่ในอดีต แต่ก็ยังมีความท้าทายอยู่ในปัจจุบัน การแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพจึงมีความจำเป็น”

ครับ เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://malawi24.com/2022/04/02/malawian-cotton-farmers-benefitting-with-bt-cotton-seed/