เมล็ดฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมปลอดสารพิษ พัฒนาเป็นอาหารได้ ความหวังลดความหิวโหย

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

การใช้เมล็ดฝ้ายเพื่อเป็นอาหาร เป็นเป้าหมายที่ไม่ได้รับการตอบสนองจากนักปรับปรุงพันธุ์พืชหลายราย จนกระทั่ง ศาสตราจารย์ Dr. Keerti Rathore จากมหาวิทยาลัย Texas A&M ประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเมล็ดฝ้ายปลอดสาร gossypol (สารพิษ) ผลงานวิจัยนี้มีศักยภาพที่สำคัญต่อความมั่นคงด้านอาหารของโลก

จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่โดย Scientia (ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์) ระบุว่า เกษตรกรกว่า 20 ล้านคนทั่วโลก ต้องพึ่งพาฝ้ายในการดำรงชีวิต และ ทุกๆ 1 กิโลกรัมของเส้นใยที่ผลิตได้ จะมีเมล็ดฝ้ายที่ถูกทิ้งไป1.65 กิโลกรัม

เนื่องจากมีสารประกอบที่เป็นพิษตามธรรมชาติที่เรียกว่า gossypol ต้นฝ้ายผลิต gossypol เพื่อป้องกันการติดเชื้อจุลินทรีย์และแมลงศัตรูพืช แม้แต่มนุษย์และสัตว์อื่น ๆ gossypol ที่มีความเข้มข้นสูง อาจทำให้อวัยวะบางส่วนเสียหายและมีเลือดที่ผิดปกติได้

การแปรรูปน้ำมันเมล็ดฝ้าย จะสกัดเอา gossypol ออก เพื่อใช้สำหรับทอดและอบได้ อย่างไรก็ตาม โปรตีนที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์สามารถใช้เป็นอาหารโคได้เท่านั้น

Dr.Rathore และทีมงานได้ใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมเพื่อขัดขวางการผลิต gossypol ในเมล็ดฝ้าย โดยการใช้ RNA interference (กระบวนการในการควบคุมการแสดงออกของลักษณะทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง) ทำให้ยีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิต gossypol หยุดการทำงานลงได้

ฝ้ายชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘Ultra-Low Gossypol Cottonseed’ (ULGCS) ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้เป็นอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ในปี 2562 ด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำและมีโปรตีนคุณภาพสูงทำให้ ULGCS เป็นหนึ่งในความหวัง ที่จะต่อสู้กับความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการทั่วโลก

     ครับ อาจช่วยให้จำหน่ายน้ำมันพืชจากเมล็ดฝ้ายในราคาที่ถูกลง

     อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.scientia.global/wp-content/uploads/Keerti_Rathore/Keerti_Rathore.pdf