ข้อจำกัดทางกฎหมายในบางพื้นที่ทำให้การยอมรับเทคโนโลยีการแก้ไขยีนทางการเกษตรช้า

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

เรารู้กันดีว่า พืชผักนั้นดีสำหรับทุกคน และจากความก้าวหน้าในนวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์พืช ทำให้การพัฒนาพันธุ์พืชทำเร็วขึ้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของการเกษตรและผู้บริโภคทั่วโลกนั่นเอง

Szabolcs Ruthner ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแลของ International Seed Federation (สหพันธ์เมล็ดพันธุ์พืชนานาชาติ) กล่าวว่า ในทศวรรษที่ผ่านมาเพียงทศวรรษเดียว มีโครงการวิจัยการแก้ไขยีนในพืชเพาะปลูกเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ และมีผลการศึกษาที่เน้นในการนำผลิตภัณฑ์จากพืชแก้ไขยีนออกสู่ตลาด มากว่า200 เรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสาร ที่มีการตรวจสอบโดยผู้เชียวชาญก่อนลงพิมพ์

นอกจากนี้ ยังได้เห็นความหลากหลายในการพัฒนาสายพันธุ์ และคุณลักษณะที่ได้รับการปรับปรุง ที่ได้ดำเนินการอยู่ใน 25 ประเทศ สิ่งนี้เองที่ทำให้เราตื่นเต้นกับอนาคตของการใช้เทคโนโลยีการแก้ไขยีนในการพัฒนาพันธุ์พืช

Ruthner   กล่าวอีกว่า วิธีการปรับปรุงพันธุ์ล่าสุด ด้วยการแก้ไขจีโนม มีศักยภาพมากต่ออุตสาหกรรมในภาคเมล็ดพันธุ์

แต่…ข้อจำกัดที่จัดเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดคือความไม่แน่นอนทางกฎหมายที่มีอยู่ในหลายพื้นที่ของโลก ดังนั้น เราจึงเห็นการใช้ประโยชน์จากพืชแก้ไขยีนในตลาดเฉพาะ และไม่มีการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในระดับโลก

   ครับ คงต้องเร่งทำความเข้าใจให้ชัดเจนกับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมเทคโนโลยีดังกล่าว

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://seedworld.com/new-breeding-techniques-could-change-vegetable-breeding