ต้องเพิ่มการผลิตอาหารเพิ่ม 2 เท่าภายในปี 2593 การดัดแปลงพันธุกรรมสามารถช่วยได้

  •  
  •  
  •  
  •  

ดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

จากการพูดคุยระหว่าง AZo Cleantech (สื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ชั้นนำเพื่อชุมชนเทคโนโลยีสะอาด) กับ Amanda Cavanagh จาก University of Essex ในอังกฤษเกี่ยวกับอนาคตของภาคการเกษตรในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

การหารือได้มีการพูดถึงการดัดแปลงพันธุกรรมพืช เพื่อหลีกเลี่ยงข้อบกพร่องที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์แสง จะสามารถช่วยให้พืชอาหารในปัจจุบันยังคงมีประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

Cavanaghได้เกริ่นนำว่า เราจำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตเป็น 2 เท่าภายในปี 2593 เพื่อเลี้ยงประชากรที่กำลังเติบโต และเป็นสิ่งที่จะต้องทำเมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เป้าหมายของเรา คือ การสร้างพืชที่สามารถทนทานความร้อนที่เพิ่มขึ้นทั้งในวันนี้และในอนาคต เพื่อช่วยให้เกษตรกรได้รับเทคโนโลยี (พันธุ์พืชที่พัฒนาแล้ว) ที่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงโลก

แนวคิดในการสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรมดังกล่าว คือ การเปลี่ยนแปลงการหายใจแสง (photorespiration หมายถึงการใช้ก๊าซออกซิเจนและคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะที่พืชสังเคราะห์แสง) จะช่วยให้พืชมีความทนทานต่อความร้อนที่เพิ่มขึ้นในแปลงปลูก

ทั้งนี้เพราะ การหายใจแสงในพืชอาหารหลักส่วนใหญ่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นในข้าวสาลี ข้าว และถั่วเหลือง ซึ่งเรารู้ว่า Rubisco (เอนไซม์ที่มีส่วนร่วมในขั้นตอนแรกที่สำคัญของการตรึงคาร์บอน) จะมีปัญหามากขึ้นในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์จากออกซิเจนเมื่อมีความร้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการหายใจแสงมากขึ้น

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการหายใจแสงด้วยการดัดแปลงพันธุกรรมในพืชจะสามารถทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้นภายใต้สภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย

     ครับ เป็นแนวคิดในการแก้ไขข้อบกพร่องของการสังเคราะห์แสง ที่เกิดจากกระบวนการหายใจแสง รอดูผลครับว่า จะแก้ไขได้หรือไม่?!

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.azocleantech.com/article.aspx?ArticleID=1406