โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยการเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของฝรั่งเศส (INRAE) ได้ใช้เทคโนโลยี CRISPR ในการแก้ไขยีนมะเขือเทศเชอรี่ให้ต้านทานต่อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคใบด่างประพริก (Pepper Veinal Mottle Virus) ผลการวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Plant Science
นักวิจัยตั้งเป้าหมายที่ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความอ่อนแอของมะเขือเทศเชอร์รี่ เพื่อพัฒนาความต้านทานทางพันธุกรรมของมะเขือเทศเชอร์รี่
ทีมวิจัยได้ใช้ CRISPR-Cas9-NG ในมะเขือเทศเชอร์รี่เพื่อยับยั้งยีน eIF4E2 ที่พบว่ามีความต้านทานต่อไวรัสบางสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคใบด่างประพริก (PVMV) ในต้นมะเขือเทศผลใหญ่ ส่งผลให้ขาดโปรตีน eIF4E2 โดยสิ้นเชิง
มะเขือเทศเชอร์รี่ 3 สายพันธุ์แสดงความต้านทานต่อไวรัสในกลุ่มโปตีไวรัส(potyvirus) คล้ายกับที่พบในมะเขือเทศผลใหญ่ นอกจากนี้ มะเขือเทศเชอร์รี่ยังมีความทนทานต่อ PVMV-Ca31 อย่างสมบูรณ์ และต้านทานบางส่วนต่อ PVMV-IC และอ่อนแอต่อPVY 2 สายพันธุ์
ครับ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นศักยภาพของเทคนิคการแก้ไขยีนในการพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รี่ให้ต้านทานโรคที่เกิดจากไวรัส
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0168945221003563#!