เหตุผลที่อังกฤษควรยอมรับเทคโนโลยีชีวภาพและการแก้ไขยีน

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

สถาบันอดัม สมิธ (Adam Smith Institute) ได้เผยแพร่บทความเรื่อง Splice of Life: The Case of GMOs and Gene Editing ซึ่งอิงจากการวิจัยที่มีการศึกษามามากกว่า2 ทศวรรษเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้จากการยอมรับสิ่งสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

บทความนี้เขียนโดย Cameron English ผู้อำนวยการด้านชีววิทยาศาสตร์ (Biosciences)ของสภาวิทยาศาสตร์และสุขภาพแห่งอเมริกา (American Council on Science and Health) และได้เน้นว่า สหราชอาณาจักร หรืออังกฤษกำลังเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง ในการพิจารณากฎระเบียบด้านเทคโนโลยีชีวภาพให้เป็นแบบเสรีนิยมมากขึ้น

ในบทความได้เน้นประเด็นต่อไปนี้:

– การยอมรับผลิตภัณฑ์ที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม จะช่วยให้ผู้บริโภคทั่วโลกประหยัดเงินได้ถึง 24 พันล้านดอลลาร์ต่อปี ในขณะที่อุตสาหกรรมการเกษตรของสหราชอาณาจักรจะสูญเสียเงินประมาณ 7 พันล้านปอนด์เนื่องจากการห้ามสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมตั้งแต่ปี 2539

-การใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชลงร้อยละ19 ตั้งแต่ปี 2539

-สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ 2 ล้านกิโลกรัมตั้งแต่ปี 2539 ถึง 2561

-สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์และช่วยส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืนซึ่งได้รับการยืนยันจากการศึกษาด้านความปลอดภัยมากกว่า 2,000 รายงาน

-จากหลักการป้องกันไว้ก่อน (precautionary principle) จึงมีการห้ามทั่วทั้งสหภาพยุโรป ในเรื่องของเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมที่เกือบจะเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรปก็มีการนำเข้าถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองประมาณ 30 ล้านเมตริกตันต่อปี โดยที่ร้อยละ 90–95 ของถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองที่นำเข้านั้นมาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

ครับ ใช้ได้กับประเทศไทยไหม ?

       อ่านเพิ่มเติมได้ที่  เhttps://static1.squarespace.com/static/56eddde762cd9413e151ac92/t/61b345deac32fc6b68499ac2/1639138783506/Splice+of+Life+-+Cameron+English+-+Final.pdf