แนวทางกำกับดูแลสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม-แก้ไขยีน เพื่อการเกษตร

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

เมื่อเร็วๆนี้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ เกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลเพื่อการใช้ประโยชน์สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่รวมถึงสัตว์ที่แก้ไขยีน โดยมีประเด็นสำคัญของการอภิปราย ที่ได้สรุปไว้ในบทความที่เผยแพร่ในวารสาร Transgenic Research ดังนี้

•ยังมีความท้าทายอีกหลายอย่างที่สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมจะได้รับความไว้วางใจ การยอมรับ และพร้อมสำหรับการเพาะเลี้ยงโดยเกษตรกร เพื่อตอบสนองความต้องการอาหารทั่วโลก และในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

•กลยุทธ์การสื่อสารที่พิจารณาจากมุมมองของผู้บริโภคสามารถช่วยสร้างความตระหนักรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับประโยชน์ของเทคโนโลยีและค่าเสียโอกาสของการไม่ใช้ประโยชน์

•การรับรู้ของสาธารณชนและกฎระเบียบที่อิงตามหลักวิทยาศาสตร์เป็นตัวกำหนดระดับการยอมรับสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม

•เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนมเปิดโอกาสให้การปรับปรุงสวัสดิภาพสัตว์ทำได้เร็วขึ้น และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สำหรับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ประกอบด้วย Eric M. Hallermanจาก Virginia Polytechnic Institute และ State University, Diane Wray-Cahen จากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา และตัวแทนจากองค์การ ISAAA ซึ่งประกอบด้วย Rhodora Romero-Aldemita, Margaret Karembuและ Godfrey Ngureเป็นต้น

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้ระบุขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมในการบรรลุสถานะที่เอื้ออำนวยต่อสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมและสัตว์ที่แก้ไขยีนเพื่อการเกษตร ซึ่งรวมถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ การฝึกอบรมสำหรับนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับระบบการกำกับดูแลและการสื่อสาร รวมถึงการสื่อสารอย่างต่อเนื่องระหว่างผู้เชี่ยวชาญและสาธารณชนเพื่อสร้างความไว้วางใจและความโปร่งใส

ครับ การสร้างความเข้าใจกับสาธารณชนทั่วไปเป็นสิ่งสำคัญต่อการยอมรับและใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และสิ่งมีชีวิตที่มาจากการแก้ไขยีน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://link.springer.com/article/10.1007/s11248-021-00294-3#Sec24